เลือกตั้งและการเมือง

'พิธา' ชง 5 ข้อเร่งด่วนสางปัญหางบฯแผ่นดิน แนะดึง ปชช.มีส่วนร่วมตรวจสอบโปร่งใส

โดย weerawit_c

22 มิ.ย. 2567

44 views

วานนี้ (21 มิ.ย.) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเสียงข้างมาก 311 เสียง ต่อ 175 เสียง รับหลักการร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2568 ในวาระแรก โดยที่ฝ่ายค้าน ลงมติไม่รับหลักการร่างงบประมาณฯ ดังกล่าว ภายหลังได้พิจารณา และอภิปรายกันมา 3 วัน 3 คืน พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการฯ ขึ้นมาชุดหนึ่ง จำนวน 72 คน เพื่อปรับแก้ก่อนเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาอีกครั้ง ในวาระที่ 2 และ 3


โดย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้อภิปรายสรุปภาพรวมการอภิปรายของฝ่ายค้านทั้งหมด ต่อร่างงบประมาณปี 2568 ของรัฐบาลฉบับนี้ ว่า ยังคงทำยาก และเสี่ยงสำหรับประชาชน ทั้งในแง่เศรษฐกิจ และความเสี่ยงจากปัจจัยที่ถูกกดดัน ทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศ


การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ยังไม่ดีขึ้น และถูกกดดันด้วยปัจจัยในประเทศ ทั้งสินค้าที่แพงขึ้น หนี้ครัวเรือน ภัยพิบัติ โรคระบาด สังคมสูงวัย ยาเสพติด วิกฤตทางการเมือง ส่วนปัจจัยภายนอก ทั้งสงคราม การกีดกันการค้า เทคโนโลยี ดังนั้น งบประมาณที่รอบคอบ ที่มีการบริหารความเสี่ยง และมีความสมดุลย์ ระหว่างการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความเป็นดีอยู่ดีของพี่น้องประชาชน จึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับปี 2568


ในขณะเดียวกันปีนี้เป็นปีที่ 6 ในในการอภิปรายเรื่องงบ อาจไม่มากแต่นานพอที่จะบอกว่ารูปร่างงบประมาณไม่ต่างกันมาก มีโอาสได้ดูการทำงบประมาณของ OECD ที่มีข้อเสนอแนะดี ๆ ในการทำงบประมาณ ขั้นตอนต่อจากนี้ที่ไทยจะเข้าสู่ OECD ต้องมีการปรับปรุงมาตรฐานกฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติให้สอดคล้อง


งบประมาณ คือ การเรียงลำดับความสำคัญ ทรัพยากรมีจำกัดทุกประเทศ คือการจัดความสำคัญกับประชาชนที่จ่ายภาษี และรัฐที่ใช้ภาษี ใครจ่าย ใครใช้ ใครเจริญ ใครถูกมองข้าม เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด อย่างกรณีการจัดงบประมาณของประเทศนิวซีแลนด์ ที่คำนึงถึงผลประโยชน์ระยะยาว ไม่ได้คิดแค่การปล่อยเงินจากบนลงล่าง หรือล่างขึ้นบน แต่บางครั้ง สิ่งที่ประชาชนต้องการ อาจไม่ใช่พายุเศรษฐกิจ แต่ต้องการลมใต้ปีกของคนตัวเล็ก ๆ ที่ต้องทำงบประมาณแบบละเอียด ไม่ได้ต้องการพาประเทศไปสู่ความเสี่ยงระยะยาว ต้องการโครงการเล็ก ๆ ที่เห็นคนข้างล่างรวมกัน ทำให้เศรษฐกิจโตได้ และลดความเหลื่อมล้ำไปได้


วาระที่ 1 ประมวล รายได้ของรัฐ + เงินกู้จะ = รายจ่ายของรัฐ ซึ่งปัจจุบันไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงต้องมีการกู้เพิ่ม โดยรายได้ของรัฐ มาจากส่วนที่เสียภาษี คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต ส่วนราชการอื่น พาณิชย์ เมื่อรวมกับเงินกู้ จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร การชำระหนี้ท้องถิ่น งบผูกพัน สวัสดิการ โครงการดิจิทัล วอลเล็ต และอีก 1 ใน 4 จะเป็นงบประมาณคงเหลือที่ใช้แก้ปัญหาเรื่องอื่นๆ


นายพิธา ยกแผนผังรายได้ของรัฐมีความผันผวน และสัดส่วนการเก็บรายได้ลดลง เมื่อเทียบกับ GDP ซึ่งเป้าหมายของประเทศในกลุ่ม OECD จะมีเป้าหมาย 16 - 18% ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ 14 - 15% เท่านั้น จึงเกิดคำถามว่าแผนการจัดเก็บรายได้ของรัฐที่มีความผันผวนมาตลอด รัฐบาลจะมีแผนงานอย่างไร ที่ทำให้ประชาชนมั่นใจได้ว่ารายได้ในอนาคต สามารถเป็นรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในประเทศได้ โดยไม่ต้องกู้มากขึ้น


นายพิธา ระบุว่า ข้อมูลล่าสุด สะท้อนให้เห็นว่าการจัดเก็บรายได้ รัฐมีความเสี่ยงที่จะทำไม่ได้ตามเป้า อย่างกรมสรรพสามิต จากกรณีที่หยิบยกมาการเก็บรายได้ 7 เดือน จาก 12 เดือน จัดเก็บพลาดไปแล้ว 35,498 ล้านบาท ซึ่งยกตัวอย่าง การเก็บภาษีพลาดเป้าที่ผ่านมา เกิดจากนโยบายของรัฐบาลในการลดภาษีดีเซล และเบนซิน สะท้อนให้เห็นว่าเวลารัฐบาลทำนโยบาย บางครั้งอาจมีความจำเป็นที่ต้องทำ แต่มีราคาที่ต้องจ่าย คือเรื่องรายได้ของรัฐที่หายไป จึงอยากฟังจากกระทรวงการคลัง ว่าจะแก้ไขปัญหาส่วนนี้อย่างไร


สิ่งที่อยากเห็นจากรัฐบาลชุดนี้ คือ แผนรายได้ประเทศ การปฏิรูปภาษี จะทำอย่างไร จะขยายฐานภาษีทางเศรษฐกิจอย่างไร ที่จะไม่ทำให้คนตัวเล็กลำบากมากเกินไป ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะขยายเพิ่มอาจซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำ หากคิดตามสัดส่วนรายได้ การบริโภคสินค้าประเภทเดียวกัน คนจนจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มมากกว่าคนรวย ส่วนแนวราบ หรือฐานคนเสียภาษีน้อย ที่จะต้องเพิ่มแรงจูงใจให้คนยื่นภาษีกว้างมากขึ้น


การสร้างรายได้ใหม่ๆ ให้กับประเทศ จึงอยากถามกระทรวงการคลังเกี่ยวกับเรื่องสุราก้าวหน้า ขอแค่แก้กฎกระทรวง และส่งเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็สามารถแก้ไขเรื่องนี้ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องผ่านสภา เหมือนในสมัยรัฐบาลที่แล้ว ยืนยันว่าสามารถทำได้เลยและเพิ่มสรรพสามิตใหม่ ๆ ให้กับประเทศ


นายพิธา ยกตัวอย่าง คำพูดในเว็บไซต์ของพรรคเพื่อไทย คือ “คุณคิดว่าจะมีประชาชนที่ไหนยอมเข้าคิวเสียภาษีล่วงหน้า ง่ายนิดเดียว เอาต้มใต้ดิน มาต้มบนดิน และประชาชนจะเข้าคิวเพื่อซื้อแสตมป์สรรพสามิต มาติดปากขวดเหล้าเพื่อขาย คุณเข้าใจความยิ่งใหญ่นี้ไหม” หากไม่อยากทำตามในสิ่งที่ตนเองพูดไป อย่างน้อย ทำตามสิ่งที่เว็บไซต์ของพรรคเพื่อไทยเคยทำไว้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับประชาชน


ส่วนเรื่องการกู้ ภาระดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่า ย้ำว่า ทุกอย่างมีต้นทุน ซึ่งต้องมาเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอนาคต และอีกเรื่องคือความยืดหยุ่นในการทำงบประมาณ ซึ่งครั้งนี้เป็นการไต่เส้น ใกล้เคียงกับกรอบงบประมาณ ทั้งการกู้ปริ่มเพดาน ภาระผูกพันงบประมาณข้ามปี ควรทำอะไรที่เสี่ยงขนาดนี้ เดิมพันกับอนาคต มากขนาดนี้หรือไม่อย่างไรเชื่อว่าประชาชนตัดสินใจได้ อนาคตเรามั่นใจมากน้อยแค่ไหนกับน้ำบ่อหน้า รวมถึงความเชื่อมั่นของทุกภาคส่วนก็ดูไม่สู้ดีนัก รวมถึงงบรายจ่าย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น เราไม่ค่อยเน้นเรื่องรายได้ หรือแผนเงินกู้ ทำให้เห็นภาพครบทุกมุม อัตราการเติบโตของรายได้โตไม่ทันรายจ่ายของประเทศ ทำให้อัตราการกู้สูงขึ้นเรื่อย ๆ


วาระที่สองการขยาย ได้ยกคำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2565 ถ้ารัฐบาลไม่จนปัญญาจริง ๆ ไม่แจกหรอก เน้นเรื่องการใช้เงินสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแรงขึ้น ต้องหาสมดุลย์ระหว่างการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลดความเหลื่อมล้ำ การหาสมดุลย์ผลประโยชน์ระยะสั้นและความเสี่ยงในระยะยาวมองเห็นกระตุ้น Ignite และเห็นหัวประชาชนที่ถูกมองข้าม การกระตุ้นเศรษฐกิจมีหลายมิติ ปัญหาของ GDP เป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุน การต่อสู้กับการขาดทุนทางการค้า ไม่ใช่การบริโภค


ภาคเกษตร ปัญหาที่ดินทับซ้อนงบประมาณกว่า 725 ล้านบาทที่จะใช้ในการแก้ไขต้องใช้เวลากว่า 100 ปี ในการแก้ไขปัญหาทั้งหมด ปัญหาเรื่องการจัดการน้ำแล้ง จากการจัดสรรงบประมาณจะทำได้ได้แค่ 1% ของพื้นที่แรงทั้งหมด และเรื่องสุดท้ายคือการเผาในภาคการเกษตรโดยมีงบประมาณ 2,000,000 ตันจาก 24 ล้านตัน ซึ่งเป็นเพียง 10% หากเราแก้ไขการลงทุนในเครื่องจักร หรือปรับระบบการเพาะปลูก จะสามารถแก้ไขได้


ภาคอุตสาหกรรม งบประมาณที่จัดมาแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น จึงเกิดคำถามว่าจะสู้ได้อย่างไร การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมของยานยนต์สันดาปไปอีวี เสนอให้จดงบเพื่อเตรียมตัว การปรับตัวให้ทัน AI ซึ่งงบประมาณน้อยกว่าประเทศอื่นๆ จึงเกิดคำถามว่า งบประมาณเท่านี้ จะสู้กับประเทศอื่นได้อย่างไร


การท่องเที่ยว ต้องรักษาไว้ที่การลงทุนด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ต้องมีงบประมาณในการรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศด้วย


ในขณะที่งบ Ignite ก็มีคนถูก Ignore ด้วย ทั้งสวัสดิการเด็กเล็ก เงินอุดหนุนเด็กเล็กยังไม่ถ้วนหน้า สวัสดิการผู้พิการ เครื่องมือผู้พิการหายไป และสิ่งแวดล้อม งบดูแลไฟป่าที่ไม่เพียงพอ


วาระที่สามข้อเสนอแนะ คือ การปฏิรูปกระบวนการทางงบประมาณ ตั้งแต่การจัดทำ การอนุมัติ และการบริหารงบประมาณตามข้อเสนอแนะของ OECD คือ การมีส่วนร่วมของสาธารณะยังจำกัดและสามารถทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น มีการระบุความเสี่ยงการคลังไว้แล้ว แต่การเพิ่มความตระหนักถึงความยั่งยืนการคลังในระยะยาวสามารถปรับปรุงได้ พและการตรวจสอบอิสระซึ่งปัจจุบันยังมีข้อจำกัดอยู่


นายพิธา สรุปว่า 5 สิ่งเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องทำเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน คือ ความชัดเจนเกี่ยวกับแผนรายได้กับแผนหนี้ของประเทศ, แผนการปฏิรูปภาษีอย่างเป็นธรรม, แผนการช่วยเหลือประชาชนที่งบประมาณไม่ครอบคลุม, การเปิดเผยกระบวนการการพิจารณางบต่อสาธารณะ และการปรับกระบวนการงบประมาณตามมาตรฐาน OECD


https://youtu.be/CSbZS5FYvLo

คุณอาจสนใจ

Related News