12 พ.ย. 2567
รมว.กต. ยืนยัน กรอบ MOU 44 เป็นกรอบเจรจาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนไทย-เขมร – ย้ำไม่กระทบเกาะกูดไทย
นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงถึงกรณีที่ยังคงมีความพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง และมีการให้ข่าวสารเกี่ยวกับการเจรจาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนระหว่าง ไทย-กัมพูชาที่ไม่ถูกต้อง ทำให้สังคมมีความสับสน ถึงการเรียกร้องให้มีการยกเลิก MOU44 ว่า MOU 44 มีที่มาจากการที่ไทย และกัมพูชาต่างไม่ยอมรับการอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทางทะเลที่แต่ละฝ่ายประกาศ ทำให้เกิดเป็นพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อน ซึ่งตามกฎหมายระหว่างประเทศระบุให้ในกรณีเช่นนี้ประเทศที่อ้างสิทธิจะต้องเจรจาทำความตกลงเพื่อหาทางออกด้วยกัน โดยสาระสำคัญของ MOU44 นั้น คือการกำหนดกรอบและกลไกการเจรจา โดยให้ทั้งประเทศไทย และกัมพูชาต้องตั้งคณะกรรมการทางเทคนิค หรือ Joint Technical Committee: JTC ขึ้น เพื่อทำการเจรจาพร้อมกันไปใน 2 เรื่อง ทั้งเรื่องการแบ่งเขตทางทะเล และการพัฒนาแหล่งพลังงาน โดยไม่สามารถแยกการเจรจาเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่กฏหมายระหว่างประเทศวางไว้ ทั้งนี้ การยกเลิก MOU 44 ก็ไม่ได้ทำให้เส้นอ้างสิทธิของฝ่ายกัมพูชาหายไปแต่อย่างใด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังอธิบายว่า MOU44 มีลักษณะเป็นข้อตกลงชั่วคราว หรือ Provisional Arrangement ซึ่งเป็นเพียงการตกลงของทั้ง 2 ฝ่ายที่จะวางกรอบและกลไกการเจรจากันเท่านั้น พร้อมย้ำด้วยว่า การเจรจาพื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา จะไม่เกี่ยวกับอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูดแต่อย่างใด เพราะเกาะกูดเป็นของไทยที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้
นอกจากนั้น MOU44 มีมาตราการป้องกันที่รัดกุม หรือ Safeguard Clause ในข้อ 5 ที่ระบุเป็นเป็นเงื่อนไขบังคับว่า “จนกว่าจะได้มีการตกลงการแบ่งเขตทางทะเลให้แล้วเสร็จ MOU และการดำเนินการต่าง ๆ ตาม MOU นี้ จะไม่มีผลต่อการอ้างสิทธิทางทะเลของแต่ละฝ่าย” ซึ่งเป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่า การเจรจาตามกรอบ MOU44 นี้ จะไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อเขตอำนาจอธิปไตยทางทะเลของแต่ละฝ่าย จนกว่าจะสามารถตกลงกันได้ และมีการจัดทำความตกลงอย่างเป็นทางการอีกครั้งร่วมกัน ซึ่งในกรณีนี้จะต้องนำเรื่องให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบก่อนด้วย ซึ่งหมายถึงว่าความตกลงใดๆที่จะเกิดขึ้นนั้น จะต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนชาวไทย ดังนั้นจึงแปลกใจต่อผู้ที่พยายามโยงเรื่องเกาะกูดเข้ากับการเจรจาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังย้ำว่า ผลประโยชน์ของประเทศไทยในเรื่องนี้ มี 2 ประการ ซึ่งรัฐบาลจะต้องดูแลทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ การแบ่งเขตทางทะเล และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการพัฒนาทรัพยากรด้านพลังงาน พร้อมยังคงย้ำว่า "เกาะกูด" เป็นของประเทศไทยแน่นอน เพราะตามหนังสือสนธิสัญญา ระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 23 มีนาคม รศ.125 หรือ ค.ศ. 1907 บัญญัติชัดเจนว่า "เกาะกูด เป็นของไทย" ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเกาะกูดมาช้านานแล้ว และประเทศไทยได้ใช้อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูดมาโดยตลอด มีประชาชนชาวไทยอยู่อาศัยมาเป็นเวลากว่า 100 ปี และกัมพูชาก็ยอมรับ และไม่เคยมีข้อโต้แย่งใด ๆ ในเรื่องนี้
โดย olan_l
12 พ.ย. 2567
13 views
EP อื่นๆ
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
ตลาดคริปโตฯคึกคัก! 'Bitcoin' พุ่งทะลุเฉียด 3.1 ล้านบาท คาดอาจไปถึง 3.4 ล้านก่อนสิ้นปี
chawalwit_m
12 พ.ย. 2567
“ฟิล์ม รัฐภูมิ” แถลงข่าวขอโทษ “หนุ่ม กรรชัย” จากกรณีมีคลิปเสียงเจรจากับ “นักร้องสาว”
nicharee_m
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
‘ฟิล์ม’ เตรียมตั้งโต๊ะแถลงด่วน ‘แทค ภรัณยู’ ยันเสียงเพื่อนจริง ลั่นผิดว่าไปตามผิด
nicharee_m
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567