สังคม
สปสช. เตรียมดำเนินคดี คนไข้ตระเวนขอยาโครงการ 30 บาท ไปขายออนไลน์
โดย panwilai_c
21 ธ.ค. 2567
94 views
เมื่อวานนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดงาน ขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ซึ่งได้นำนวัตกรรมบริการการแพทย์ทางไกลเชิงรุกในชุมชน หรือ "ตู้ห่วงใย" มาดูแลผู้มีสิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) ให้เข้าถึงบริการด้วยเทคโนโลยีที่มีคุณภาพและมาตรฐานสาธารณสุข โดยใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียว
แต่ปรากฎว่า มีเรื่องหนึ่งที่กำลังกลายเป็นปัญหา ที่ต้องช่วยกันตรวจสอบ คือทางสปสช.พบว่า ขณะนี้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งตระเวนใช้สิทธิบัตรทอง ที่มีไปในทางที่ทุจริตด้วยการขอเบิกยาหลายชนิด ในหลายสถานพยาบาล แล้วนำไปขายต่อทางออนไลน์ ทางสปสช.บอกว่า รู้ตัวแล้วว่าเป็นใคร และเตรียมแจ้งความดำเนินคดี
เรื่องนี้ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบุ ในระบบการตรวจสอบ พบความผิดปกติในปี 2567 พบมีผู้ใช้บริการใน ระบบหลักประกันสุขภาพ 3 รายที่มี พฤติกรรมตระเวนเข้ารับการตรวจรักษาและรับยาพ่นที่รักษาอาการภูมิแพ้ จากสถานพยาบาลในหลายจังหวัด ในเขตภาคกลางและภาคอีสาน
โดย รายที่ 1 เข้ารับการตรวจรับยา 118 ครั้ง ในโรงพยาบาล 31 แห่ง รับยา จำนวน 318 ขวด คนที่สองใช้บริการไป 98 ครั้ง จากโรงพยาบาล 14 แห่ง รับยา 147 ขวด และคนที่สาม มียอดการเข้าเบิกยา 30 ครั้ง จากโรงพยาบาล 8 แห่ง จำนวน 55 ขวด ซึ่งคนที่สองและคนที่สามมีนามสกุลเดียวกันคาด ว่า อาจเป็นญาติกัน
ทั้งนี้พฤติกรรมของ ผู้ใช้บริการกลุ่มนี้มีพฤติกรรม พบว่าจะตระเวนไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานคร เขตภาคกลาง และภาคอีสาน
โดยพฤติกรรม พบว่าจะตระเวนไปตามสถานพยาบาลหลายหลายที่และเข้ารับบริการ ในช่วงนอกเวลาทำการเนื่องจากเป็นช่วงเวลาฉุกเฉินบุคลากรอยู่น้อยไม่มีการตรวจสอบเข้มงวดพบตระเวนไปหลายจังหวัดทั้งกรุงเทพมหานครเขตภาคกลางและภาคอีสาน ซึ่ง กรณีนี้เป็นการเข้ามาเพื่อขอรับยาที่ใช้ในลักษณะกึ่งยาฉุกเฉินคืออย่าพ่นแก้ภูมิแพ้และมีราคาสูง เมื่อเข้าโรงพยาบาลแพทย์จะตรวจพบประวัติเดิมอยู่แล้วจึงมีการจ่ายยาไป
ที่ผ่านมา ทาง สปสช. เคยดำเนินคดีกับผู้ใช้บริการที่มีลักษณะพฤติกรรมคล้ายกันนี้ คือตระเวนเพื่อรับยาและนำมาขายได้ดำเนินคดีไปแล้วสามรายแล้วที่ถูกตัดสิน จำคุกเนื่องจาก เป็นคดีฉ้อโกงที่ไม่สามารถยอมความได้
ในการตรวจสอบที่พบความผิดปกติ มีสถานพยาบาลบางแห่งได้ทำหนังสือสอบถามเข้ามาอย่างส่วนกลาง ซึ่งก็เป็นห้วงเวลาเดียวกับที่ในโซเชียลมีการแชร์ข้อมูลภาพถือว่าเป็นการช่วยส่งให้ทางหน่วยงานมีการตรวจสอบที่ละเอียดเพิ่มเติมขึ้นหลังจากนี้จะขยายผลการตรวจสอบกลุ่มอื่นๆยาตัวอื่นด้วย แนวทางหลังจากนี้ทาง สปสช.จะมีมาตรการในการส่งสัญญาณเตือน เมื่อโรงพยาบาลใช้บัตรประชาชนคนไข้เสียบเข้าไป และเห็นข้อมูลว่า มี ผู้ใช้บริการ เข้ารับบริการในรอบปีที่ผ่านมา เบิกยาบางตัวเกินกว่าความจำเป็น ก็จะส่งสัญญาณแจ้งเตือน // คาดว่าสัปดาห์หน้าจะแล้วเสร็จ
นพ.จเด็จ ระบุว่า ข้อมูลการตรวจสอบ ขณะนี้ลิงค์กันเพียง 46 จังหวัด ยังไม่ได้ลิงค์กันทั่วประเทศ ผู้ก่อเหตุดังกล่าว จึงตระเวนขอรับยา ตามจังหวัดที่ยังไม่เชื่อมข้อมูล
แท็กที่เกี่ยวข้อง ฉ้อโกง ,สปสช ,นำยารัฐขายออนไลน์ ,ตระเวนขอยาไปขาย