สังคม

นายกฯ คาดไม่เกิน 2 สัปดาห์ ตั้งคณะกรรมการ JTC เจรจา MOU 44

โดย panisa_p

5 พ.ย. 2567

30 views

มีความเคลื่อนไหวในประเด็นการตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค Joint Technical Committee: หรือ JTC เพื่อพูดคุยเจรจาตาม MOU 44 เรื่องผลประโยชน์ ในพื้นที่ทับ ซ้อนในทะเล กรณีไทย-กัมพูชา โดยวันนี้นายกรัฐมนตรี ระบุว่าประมาณ 2 สัปดาห์ จะเสนอคณะรัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการ JTC เจรจาตาม MOU44 ได้



นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี ว่าที่ประชุมในวันนี้ ไม่มีการเสนอเรื่องตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค Joint Technical Committee: หรือ JTC เพื่อพูดคุยเจรจาตาม MOU 44 แต่คาดว่าไม่น่าจะเกิน 2 สัปดาห์ ก็จะนำเข้าครม.ได้ เนื่องจาก ประเด็น MOU44 ที่หารือกันเมื่อวานนี้ เป็นเรื่องระหว่างประเทศที่จะต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อเจรจา และทุกรัฐบาลก็มีมาแล้ว แต่รัฐบาลนี้ยังตั้งไม่แล้วเสร็จ โดยคณะกรรมการจะต้องกรองข้อมูลก่อนที่จะมีการสื่อสาร



ขณะที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยถึงการนำรายชื่อ คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC เพื่อพูดคุยเจรจาตาม MOU44 เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ว่าเป็นเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศ ต้องเป็นผู้พิจารณา ซึ่งโดยทั่วไปผู้ที่เป็นประธานคณะกรรมการ JTC จะเป็นรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นรายละเอียด



นายภูมิธรรม ยังระบุว่า กรณีที่กระทรวงการต่างประเทศระบุว่าตัวเขาเองเป็นประธานนั้น ยืนยันว่ายังไม่ทราบ ขณะเดียวกัน ก็ย้ำว่าเกาะกูดเป็นของไทย 100% ไม่เกี่ยวกับ MOU44 เนื่องจากประเด็น MOU เป็นเรื่องของไทยและกัมพูชา ต้องเจรจากัน เรื่องผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนในทะเล ถ้าจะยกเลิก MOU นี้ แปลว่าเราไม่รักษาสิทธิ ในเขตแดนเรา ดังนั้นไม่มีเหตุอะไรที่จะไปยกเลิก ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล ก็ต้องเปลี่ยนคณะกรรมการ JTC ส่วนกระแสข่าวว่าถูกยกเลิกในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์นั้น ไม่เป็นความจริง



และต่อมาในปี 2557 ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ก็ดำเนินการต่อ โดยมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นผู้ไปเจรจา ดังนั้นพรรคการเมืองหรือส่วนไหนที่พูดประเด็นนี้ ต้องกลับไปดูประวัติประวัติศาสตร์ ดูสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส และขออย่าประเด็นที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ถ้าถามลักษณะนี้ พรรคพลังประชารัฐ ก็ต้องกลับไปถามหัวหน้าพรรคตัวเอง ว่าเหตุใดขณะนั้นจึงไปเจรจา



อีกด้านหนึ่ง นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญ าวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีข้อพิพาทเกาะกูดกับราชอาณาจักรกัมพูชา ในหัวข้อ ปกป้องผลประโยชน์ชาติ กรณีไทย-กัมพูชา ประเด็นแท้จริงอยู่ที่ "สัมปทาน" ใจความสำคัญส่วนหนึ่ง ระบุว่าเป็นที่ชัดเจน ทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติว่าเกาะกูดเป็นของไทย และกัมพูชา ก็ไม่เคยอ้าง หรือมีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนของเกาะกูด แต่อย่างใด ดังนั้นเกาะกูดไม่มีทางจะเป็นของชาติ



แต่กังวลคือการจัดการผลประโยชน์เหนือแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่ OCA ซึ่งนายณัฐพง ตั้งคำถามถึงรัฐบาลถึงแผนจัดการสัมปทานปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวว่า หากเจรจาสำเร็จจนเปิดแหล่งปิโตรเลียมได้ สัมปทานเหนือพื้นที่ ที่ไทยเคยให้แก่บริษัทต่างๆ ทั้งของไทยและต่างชาติตั้งแต่ปี 2515 แต่ถูกแช่แข็งไว้ เนื่องจากยังไม่สามารถ ตกลงเรื่องการอ้างสิทธิทับซ้อนกันได้ จะจัดการอย่างไร จะเปิดประมูลใหม่หรือไม่ และสองหากเปิดประมูลใหม่ รัฐบาลจะจัดการอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ไม่ละเมิดกติการะหว่างประเทศ และทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ว่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ ประเทศชาติ ไม่ใช่เพียงกลุ่มทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง



เนื่องจากขณะนี้ประชาชนคลางแคลงใจ ต่อเป้าประสงค์ที่แท้จริงของรัฐบาลในการเร่งเจรจาเขตแดนพื้นที่ OCA เพื่อเปิดแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าว นายณัฐพงษ์ ยังระบุว่า หากรัฐบาลเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสัมปทาน หรือแถลงแนวทางชัดเจนในการบริหารทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่ OCA จะช่วยคลายความกังวลและข้อครหาต่างๆ ที่มีต่อรัฐบาลลงได้มาก และทำให้การเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อน รวมถึงการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมเดินหน้าไปได้โดยราบรื่น



วันนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่าสัปดาห์หน้าเตรียมลงพื้นที่เกาะกูด จังหวัดตราด เพื่อไปสร้างความมั่นใจให้ ประชาชนในพื้นที่ หลังเกิดกรณี MOU 44 เกี่ยวกับกรอบเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย – กัมพูชา จนทำให้เกิดความกังวลว่าจะเสียเกาะกูดไปให้กับกัมพูชา และถือโอกาสไปตรวจราชการด้วย

คุณอาจสนใจ

Related News