สังคม

พาดูโมเดลอาคารคาร์บอนต่ำ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เกือบ 50 เท่า ประยุกต์สู่งานศิลป์-วิทยาศาสตร์ วช.

โดย panwilai_c

22 ต.ค. 2567

70 views

เรามาดูตัวอย่างการปรับปรุงอาคารเก่าให้เป็นอาคารหลังใหม่ด้วยการใช้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งพบว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึงเกือบ 50 เท่า และตอนนี้เปิดใช้แล้วอย่างเป็นทางการในสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ขณะเดียวกันก็มีตัวอย่าง ของการนำงานศิลปกรรม บูรณาการร่วมกับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ จนสามารถรักษางานศิลปะจากยุคกรุงศรีอยุธยาได้ กลับมาสวยดังเดิม



อาคารเก่าอายุกว่า 30 ปี ภายในสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ที่ถูกทิ้งร้างมานานหลังนี้ เพิ่งผ่านการปรับปรุงเสร็จสิ้นและกลับมาใช้งานอย่างเต็มรูปแบบแล้ว โดยทีมนักวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการรื้อถอน ก่อสร้าง



เช่น การนำเศษซากอาคารมาใช้ยกระดับพื้น เพื่อลดการขนย้าย / การใช้วัสดุธรรมชาติจากไม้ยางพารา / และการออกด้วยวัสดุอื่นๆ



จนวันนี้ เมื่ออาคารหลังนี้กลับมาเปิดใช้ ก็ยังคงแนวคิดการใช้งานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยห้องกิจกรรมนี้เป็นต้นแบบของห้องอัจฉริยะ ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดจำนวนคน คุณภาพอากาศ อุณหภูมิห้อง ซึ่งปรับได้อัตโนมัติ



ผู้ร่วมวิจัยระบุว่า จากการตรวจวัดและคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึงกว่า 50 เท่า.... จากนี้คือการติดตามผลด้านความคงทน ของวัสดุปอุปกรณ์ที่นำมาใช้ ซึ่งผ่านมา 1 ปี ก็ยังพบว่ามีประสิทธิภาพคงทน โดยคาดว่าอาคารนี้จะยังสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องอย่างน้อยไปอีก 40-50 ปี



นอกจากงานด้านวัสดุศาสตร์แล้ว ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ระบุว่า ปัจจุบัน วช. ได้ให้นักวิจัยพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีจากงานด้านสังคมศาสตร์ และ ศิลปกรรมศาสตร์ มาบูรณการกับงานด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาและองค์ความรู้



งานวิจัยการผลิตกระจกเกรียบตามอย่างโบราณ เป็นตัวอย่างของงานศิลปกรรมที่ถอดรหัสด้วยวิทยาศาสตร์ สู่การบูรณะและต่อยอดงานศิลปกรรมไทยในวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม และ วัดสุทัศนเทพวราราม โดยใช้เทคนิคของรังสีเอ็กซ์ มาประยุกต์กับสูตรประจำตระกูลที่ส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น ของ ดร.รัชพล เต๋จ๊ะยา เจ้าของงานวิจัย จนได้สีกระจกเกรียบที่ใกล้เคียงกับวัสดุที่ใช้จริงในประวัติศาสตร์ 2 ยุค คือ กรุงศรีอยุธยา และ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีเอกลักษณ์ชองสีเฉพาะตัว



นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการที่ถ่ายทอดเรื่องราวระหว่างศิลปะกับวิทยาศาสตร์อย่างง่าย ผ่านผีเสื้อที่นำองค์ความรู้ แสง สี เสียง และงานวัสดุศาสตร์มารวมกัน ให้ผู้คนตระหนักถึงการบูรณาการระหว่างศาสตร์ต่างๆ โดยยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นงานที่น่าสนใจ จัดแสดงในโอกาสครบรอบ 65 ปี วช. ไปจนถึงวันที่ 24 ตุลาคมนี้ ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

คุณอาจสนใจ

Related News