สังคม
ถอดบทเรียนโศกนาฏกรรม 136 ศพ น้ำป่า ดินโคลนถล่ม ต.น้ำก้อ จ.เพชรบูรณ์ สู่การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ
โดย panisa_p
30 ส.ค. 2567
269 views
ปัญหาบุกรุกทำลายป่าต้นน้ำ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อความรุนเเรงของภัยพิบัติน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม ที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์สร้างความเสียหาย เเละส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เช่น เหตุโศกนาฏกรรม 136 ศพที่ ต.น้ำก้อ-น้ำชุน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ สำหรับผู้รอดชีวิต เเม้จะผ่านมา 23 ปีเเล้ว เเต่ภาพเหตุการณ์ในคืนนั้นก็ยังจำได้ไม่ลืมเลือน เเละถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทั้งผู้นำเเละชาวบ้าน ให้ความสำคัญเเละช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ติดตามการย้อนรอยภัยพิบัติน้ำป่าครั้งรุนเเรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย
นายสวัสดิ์ เเสงหาญ อดีตกำนัน ต.น้ำก้อ ในวัย 79 ปี เล่าถึงเหตุโศกนาฏกรรมในช่วงก่อนรุ่งสางคืนนั้น ราวตี 3 ของเช้าตรู่วันที่ 11 สิงหาคม ปี 2544 จู่ ๆ ก็มีเสียงดังครืนจากบนเทือกเขา เเละไม่กี่นาทีหลังจากนั้น น้ำป่าก็หลากทะลักพัดพาเอาดินโคลน เศษไม้เเละท่อนซุง ถาโถมเข้ามาในหมู่บ้าน ผู้คนที่หลับใหล ถูกพัดลอยไปกับน้ำ ทุกอย่างพังทลาย อาคารบ้านเรือนเสียหายกว่า 1,700 หลัง พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่า 83,000 ไร่ มีผู้เสียชีวิตรวมกันมากถึง 136 ราย
นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย หลายหน่วยงานต้องระดมกำลังเร่งเข้ามาให้การช่วยเหลือ ปัจจุบัน หอเตือนภัยถูกนำมาติดตั้งไว้ในหมู่บ้าน สำหรับใช้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
เหตุการณ์ผ่านมาครบ 23 ปีเเล้ว ข่าว 3 มิติ พบว่าปัจจุบันชุมชน ต.น้ำก้อ เปลี่ยนไปมาก อาคารบ้านเรือนก่อสร้างมั่นคงถาวรมากขึ้น เเต่ร่องรอยความทรงจำจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ก็ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง เช่น อาคารน็อกดาวน์หลังนี้ เคยทำไว้ให้พระสงฆ์ใช้เป็นกุฏิชั่วคราว หลังพบว่ากระเเสน้ำเเละท่อนซุง กวาดเอาศาลาเเละกุฏิหายไปทั้งหมด
กำนันสวัสดิ์เล่าว่า วัดสันติวิหาร ซึ่งอยู่เลยไปจากเส้นทางน้ำ ขณะนั้นถูกใช้เป็นสถานที่พักศพ กว่า 100 ชีวิตถูกเคลื่อนย้ายมาที่นี่ เป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ที่ไม่มีใครคาดคิด กำนันบอกว่า ท่อนซุงยักษ์ ยังถูกเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์เตือนใจ เพราะหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภัยพิบัติครั้งนั้น ก็คือเขาหัวโล้นที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าในอดีต เมื่อฝนตกหนักก็ไม่มีสิ่งใดมาช่วยชะลอ ท่อนซุงจำนวนมากจึงไหลลงมาตามร่องน้ำ กระเเทกบ้านเรือน เป็นเหตุให้ผู้คนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก
เเละนั่นก็ทำให้ทั้งผู้นำเเละชาวบ้านในต.น้ำก้อ-น้ำชุน หันมาใส่ใจเเละให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่ามากขึ้น ภาพมุมสูงปัจจุบันจะเห็นว่า บนเขาที่เคยมีน้ำหลากก็กลับมามีสภาพป่าหนาเเน่นเเละอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ประกอบกับมีโครงการอ่างเก็บน้ำเเละเเก้มลิง มาช่วยเก็บกัก ที่นี่จึงมีน้ำไว้ใช้ในหน้าเเล้ง เเละพอถึงหน้าฝน น้ำก็ไม่หลากท่วม
บทเรียนภัยพิบัติต.น้ำก้อ-น้ำชุน ในปี 2544 ถูกพูดอีกครั้งในปีนี้ หลังพบว่าเหตุน้ำหลากหลายพื้นที่ทางภาคเหนือ เเละล่าสุดดินถล่มทางใต้ที่ภูเก็ต ส่งผลกระทบรุนเเรง ในขณะที่เพชรบูรณ์ ทั้งเขาค้อ ภูทับเบิก หล่มเก่า เเละหล่มสัก ซึ่งเป็นต้นน้ำสำคัญของเเม่น้ำป่าสัก
จากการสำรวจพบว่า ป่าหลายเเห่งถูกบุกรุกเเผ้วถาง หลายฝ่ายจึงคาดหวังว่า รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ นายกรัฐมนตรี "เเพทองธาร ชินวัตร" จะมีนโยบายเเละให้ความสำคัญกับเรื่องนี้