สังคม

เดินหน้าแก้กม. เพิ่มโทษโรงงานก่อมลพิษ หนุนตั้งกองทุนแก้ปัญหาแทนรองบจากรัฐ

โดย panwilai_c

4 ก.ค. 2567

78 views

ปัญหาการลักลอบทิ้งกากสารเคมี จนกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต ทำให้มีความพยายามแก้ปัญหาหลากหลายมิติ หนึ่งในนั้นคือความพยายามแก้กฎหมายเพื่อเพิ่ม โทษและความรับผิดชอบของผู้กระทำผิด รวมถึงหาทางตั้งกองทุนเพื่อนำเงินจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมา มาใช้แก้ปัญหาแทนการรองบประมาณของรัฐ โดยกรณีความเดือดร้อนของชาวตำบลน้ำพุ อำเภอเมือง จ.ราชบุรี เป็นหนึ่งในตัวอย่างผู้ได้รับผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนจากปัญหานี้



นายธนู งามยิ่งยวด เป็นผู้ที่อยู่ใกล้โรงงานแวกกาเบ็จ และเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากห้วยน้ำพุเพื่อทำการเกษตรเหมือนคนอื่นๆ หลังจากลำห้วยน้ำพุปนเปื้อนสารเคมีอันตราย จนถูกห้ามใช้ เขาจึงทำสวนเกษตรไม่ได้



โรงอบลำไยของเขาปิดตายและไม่มีรายได้เข้าครอบครัว ถึงขั้นไม่มีเงินจ่ายค่าไฟ สัปดาห์ที่แล้ว สายไฟในสวนของเขาเพิ่งถูกวัยรุ่นชายหญิง ติดยาเสพติดมาลัก ตัดไปขายดี ที่ลูกชายของนายธนูเห็นเข้า จึงแจ้งตำรวจมาจับและยึดเอาสายไฟกลับคืนมาได้



ปัญหาเหล่านี้ มีต้นเหตุมาจากน้ำปนเปื้อนสารเคมีจนใช้ประโยชน์ทำอาชีพชาวสวนไม่ได้ แต่สำหรับนายธนูแล้ว นั่นยังไม่เจ็บปวดเท่ากับการที่รูสึกว่าปัญหานี้ ถูกเพิกเฉยมานาน นาน 10 ปี



ความเดือดร้อนของนายธนู และชาวบ้านอีกหลายคน ถูกมูลนิธิบูรณะนิเวศ สะท้อนต่อเวทีประชุมที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ลงพื้นที่จังหวัดราชบุรีเมื่อวานี้ เพราะอยากให้เห็นการแก้ ปัญหาเชิงรุกโดยเฉพาะเร่งหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้ชาวบ้านโดยเร็ว



การลงพื้นที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินที่จังหวัดราชบุรีเมื่อวานนี้ ได้คำตอบเรื่องการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้ชาวบ้านเร่งด่วน โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล รายงานว่าจะได้ งบประมาณปี 2568 ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อราษฎร 11 ครอบครัวในพื้นที่ได้รับผลกระทบด่วนในขณะนี้



การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.โรงงานฯ เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของการลงพื้นที่เมื่อวาน โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมรายงานว่า อยู่ระหว่างเร่งแก้ไข พ.ร.บ.โรงงานฯ จากเดิม ที่หากกรมโรงงานฯมีคำสั่งให้โรงงานใด ปิดกิจการไปแล้ว ความรับผิดชอบของโรงงานนั้นก็สิ้นสุดลงทันทีแม้ยังมีปัญหาอยู่ ภาครัฐก็ต้องใช้กฎหมายอื่นเข้าไปจัดการ แต่หากแก้ไขพ.ร.บ.โรงงานฯใหม่แล้ว ต่อให้โรงงานดังกล่าวถูกสั่งปิด ความรับผิดชอบต่อปัญหาก็ยังต้องมีอยู่ ประเด็นนี้เพื่อป้องกันกาปิดโรงงานหนีปัญหา



ประเด็นการตั้งกองทุนฯ ก็จะถูกเพิ่มเข้าไปในการแก้กฎหมายพรบ.โรงงานฯ โดยนำเงินค่าปรับจากโรงงานที่ทำผิดปีละ 50-100 ล้านบาท และเงินค่าธรรมเนียมปีละกว่า 2-300 ล้านมาใช้แก้ปัญหามลพิษโดยไม่ต้องใช้งบของรัฐบาล



อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลัง มีข้อเสนอแนะว่า หากไม่ตั้งกองทุน ก็ให้กรมโรงงานฯทำข้อตกลงกับกระทรวงการคลัง นำเงินค่าปรับและค่าธรรมเนียม เก็บไว้ในบัญชีเงินนอกงบประมาณของกรมฯ เพื่อใช้แก้ปัญหาเหล่านี้แทนได้



ขณะที่กรมควบคุมมลพิษ รายงานเช่นว่าอยู่ในระหว่างแก้ไขฎหมายเพื่อเพิ่มโทษผู้กระทำผิดที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีมีพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเร่งแก้ไขระเบียบ เพื่อให้การเข้าถึงการใช้เงินกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน

คุณอาจสนใจ

Related News