เศรษฐกิจ

'เพื่อไทย' แจงดรามา 'หวยเกษียณ' ปัดก็อป 'หวยบำเหน็จ' – 'ทีดีอาร์ไอ' หนุนนโยบาย ดึงคนไทยออมเงินเพิ่ม

โดย petchpawee_k

7 มิ.ย. 2567

51 views

รองโฆษกเพื่อไทยโร่แจงดรามา หวยเกษียณลอกนโยบายไทยสร้างไทย ยันคิดเองโดยทีมนโยบายพรรคเพื่อไทยตั้งแต่ปี 2562 ด้าน 


วานนี้ 6 มิ.ย. 67 หลังจากเปิดตัว เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยถึง สลากเกษียณ เพื่อแก้ปัญหา ประชาชนก้าวสู่วัยเกษียณ แต่ไร้เงินเก็บนั้น ทำให้ชาวโซเชียลได้ออกมาแสดงความเห็นว่านโยบายนี้ ไปก๊อปปี้นโยบายไทยสร้างไทย


ชาวโซเชียลบางส่วนที่สนับสนุนพรรคเพื่อได้ออกมา บอกว่าไปลอกตอนไหน เพื่อไทยมีเป็นนโยบายอยู่แล้ว ใครจะเอานโยบายคนอื่นมาทำล่ะ  พร้อมกับแนบเอกสารที่ระบุว่า การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองที่ต้องให้จ่ายเงิน ตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ พรรคเพื่อไทย โดยมีนโยบายนี้ในข้อที่ 23


ขณะที่ นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองโฆษก พรรคเพื่อไทย ได้ออกมาทวีตข้อควาว่า เห็นวิพากย์วิจารณ์กันเยอะ เรื่องนโยบาย #หวยเกษียณ ไม่ใช่นโยบายของ #พรรคเพื่อไทย แต่เป็นของพรรคอื่น ข้อเท็จจริงคือ


นโยบายนี้ คิดโดยทีมนโยบายพรรคเพื่อไทย โดยใช้ชื่อ #หวยบำเหน็จ และใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง ตั้งแต่ปี 2562


นโยบายนี้ ได้ยื่นต่อ กกต. เป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้งปี 2566 และกำลังถูกนำขึ้นมาปฏิบัติ โดยปรับชื่อเป็น “หวยเกษียณ” เพื่อให้เข้าใจง่ายกับคนทั่วไปมากขึ้น


ภายหลังการเลือกตั้งปี 2562 อาจมีพรรคการเมืองอื่นนำนโยบายนี้ ไปใช้เป็นนโยบายหาเสียงเช่นกันในปี 2566 แต่ขอยืนยันว่า เป็นนโยบายที่ “คิด” โดยพรรคเพื่อไทย และจะ “ทำ” โดยรัฐบาลเพื่อไทยครับ

---------------------

“ทีดีอาร์ไอ” หนุนหวยเกษียณ ตอบโจทย์พฤติกรรมคนไทย  ออมเงินเพิ่มขึ้น 

นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวผ่าน กรุงเทพธุรกิจ ว่า นโยบายดังกล่าวถือเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์พฤติกรรมของคนไทยในการดึงให้คนไทยออมเงินมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เงินที่ต้องซื้อหวยใต้ดินกลายมาเป็นเงินออม โดยปัจจุบันไทยมีปัญหาผู้เกษียณมีเงินไม่เพียงพอในการดำรงชีพ โดยผลการศึกษาพบว่าจำเป็นต้องมีประมาณ 3-4 ล้านบาท


ทั้งนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องพิจารณาจุดที่เหมาะสมในกรณีมีนโยบายดังกล่าวจะกำหนดเงื่อนไขอย่างไรเพราะมีผลผูกพันต่องบประมาณ รวมถึงการบริหารเงินของผู้ซื้อหวยเกษียณ ซึ่งปัจจุบันภาครัฐบริหารกองทุนในลักษณะนี้หลายกองทุนสามารถนำมาปรับใช้ได้ เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ รวมทั้งเงื่อนไขการออมไม่เกินเดือนละ 3,000 บาท จะเพียงพอหารือไม่

นอกจากนี้ ภาครัฐต้องพิจารณาในกรณีที่ไม่ดำเนินการนโยบายดังกล่าวจะมีผลต่อการตั้งงบประมาณสำหรับการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุอย่างไร ซึ่งปัจจุบันมีการตั้งงบประมาณเกือบปีละ 1 แสนล้านบาท และในอนาคตอาจจะต้องตั้งงบประมาณปีละ 4-5 แสนล้านบาท


อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของรัฐบาลพบว่า มีอัตราการจ่ายเบี้ยยังชีพสำหรับผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปคนละ 600-1,000 บาทต่อเดือน ย้อนหลังในปีงบประมาณ 2563 ใช้งบประมาณ 56,462 ล้านบาท จ่ายให้ผู้สูงอายุ 9.96 ล้านคน, ปีงบประมาณ 2564 ใช้งบประมาณ 79,300 ล้านบาท จ่ายให้ผู้สูงอายุ 10.4 ล้านคน ส่วนปีงบประมาณ 2565 ใช้งบประมาณ 82,341 ล้านบาท จ่ายให้ผู้สูงอายุ 10.9 ล้านคน


ขณะที่ปีงบประมาณ 2566 ใช้งบประมาณรวม 86,000 ล้านบาท จ่ายให้ผู้สูงอายุ 11.2 ล้านคน โดยในปี 2567 ใช้งบประมาณรวม 71,000 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2567 ตั้งงบประมาณไว้ 90,000 ล้านบาท สำหรับเป็นวงเงินที่ใช้แจกให้กับผู้สูงอายุอยู่ในปัจจุบัน


รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/4kB2JK22NK4



คุณอาจสนใจ

Related News