สังคม

เสียหายหนัก! พายุลูกเห็บ-ฝนฟ้าคะนอง พัดทำลายบ้านเรือนไร่นาของประชาชนหลายพื้นที่ในภาคอีสาน

โดย kanyapak_w

30 มี.ค. 2567

261 views

(30 มี.ค.) พายุลูกเห็บ-ฝนฟ้าคะนอง พัดทำลายบ้านเรือนประชาชนหลายพื้นที่


ชาวบ้านหนองบัวน้อยหมู่ที่9-14-และม.15 ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ชาวบ้านพากันตื่นตะโหนกตกใจพึ่งเจอพายุหมุนอย่างรุนแรง เหตุเกิดช่วงเวลาประมาณ17.00น.ของวันที่ 29 มีนาคม 67 ที่ผ่านมา พายุฤดูร้อนได้พัดกระหน่ำหมุนตัวลมกันโชคอย่างรุนแรงพร้อมฝนตกกระหน่ำเวลาประมาณ30นาทีฝนหยุด ทำให้เกิดความเสียหาย ต้นไม้ใหญ่หักโค่น ที่บริเวณกระท่อมนาของนายชาลี อายุ 78 ปี หมู่ที่9 ได้สร้างคอกวัวปักเสาปูนมุงสังกะสีอย่างดีหวังจะซื้อวัวมาเลี้ยงสัก 5 ตัว พึ่งสร้างเสร็จแค่วันเดียวพายุหอบปลิวว่อนเสียหายไปทั้งคอก



ส่วนบ้านนางคำพอง อายุ 63 ปี บ้านปูนชั้นเดียว หมู่ที่14 ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ พักอาศัยอยู่กับสามีชื่อนายถนอม (สามีผู้ป่วยติดเตียง)เกือบเอาตัวไม่รอดเพราะเคลื่อนไหวตัวเองไม่ได้ช่วงพายุฝนมามีหลานชายได้เข้ามาอุ้มเข้าหลบตัวภายในบ้านดีไม่มีเศษไม้แปรสังกะสี ส่วนการประเมินค่าเสียหายในครั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันก็จะเข้าไปดำเนินค่าเสียหายพร้อมทางเจ้าหน้าที่ป้องกันของเทศบาลตำบลบ้านเดื่อก็จะเข้าไปช่วยเหลือเบื้องต้นอีกต่อไปและวันนี้เป็นวันหยุดอีกด้วย



ขณะที่ เวลา 09.00 น. หลังเกิดพายุฤดูร้อน ลมกรรโชกแรงและเกิดพายุลูกเห็บ พัดถล่มในพื้นที่ตำบลบ้านต้อง และตำบลน้ำจั้น ตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เย็นวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา จนมีบ้านเรือนเสียหาย 1,400 หลังคาเรือน ราษฏรได้รับความเดือดร้อน 2,100 คน ล่าสุด นายจุมพฏ วจ.บึงกาฬ พร้อมด้วย นายวินัย โตเจริญ รอง.ผวจ.บึงกาฬ นายอภิชัย จำปานิล ปภ.จังหวัดบึงกาฬ นายจักรพงศ์ พันธุ์เพ็ง นายอำเภอเซกา พร้อมโดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอเซกา เจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดบึงกาฬ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทีมเยียวยาจิตใจ จากโรงพยาบาลเซกา ร่วมลงพื้นที่จุดเกิดเหตุวาตภัยและพายุลูกเห็บ ที่ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านคำบอน ตำบลน้ำจั้น อำเภอเซกา พบปะชาวบ้าน พร้อมชี้แจงทำความเข้าใจในการช่วยเหลือเยียวยา กับชาวบ้านที่บ้านเรือนเสียหาย



โดยนายวีระกุล ชาจันดา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจั้น ได้รายงานความเสียหายจากพายุลูกเห็บ ว่ามีหลังคาบ้านเรือนของชาวในตำบลน้ำจั้น ทั้ง 13 หมู่บ้าน ได้รับความเสียหาย 735 หลัง รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 3 ล้านกว่าบาท แต่งบประมาณของ อบต.ที่สามารถช่วยเหลือประชาชนมีเพียง 3 แสนบาทเท่านั้น เกินความสามารถของ อบต.จึงขอรับงบประมาณจากจังหวัดบึงกาฬ มาสนับสนุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ เช่น สังกะสี กระเบื้อง ช่วยเหลือชาวบ้าน




โดยนายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผวจ.บึงกาฬ ได้สั่งการให้ อบต.จัดซื้ออุปกรณ์ช่วยเหลือชาวบ้านรายที่หลังคาบ้านเรือนเสียหายจนอยู่อาศัยไม่ได้ก่อน และให้ อบต.ทำหนังสือด่วนถึงจังหวัด ผ่านอำเภอ เพื่อให้ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดโอนเงินงบประมาณลงมาช่วยเหลือเป็นการด่วน และเพื่อให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ให้ อบต.กลับไปประชาคมร่วมกับชาวบ้านตามหมู่บ้านอีกครั้ง ว่า จะให้หน่วยงานภาครัฐช่วยเหลือแบบไหน จะเป็นการจัดซื้ออุปกรณ์ให้ หรือชาวบ้านต้องการรับเป็นเงินสด ให้ ปภ.โอนเข้าบัญชีให้ชาวบ้านจัดซื้ออุปกรณ์เอง แล้วเร่งมาซ่อมแซม และขอทราบผลการประชาคมภายในวันจันทร์นี้ เพื่อให้จังหวัดได้ตัดสินใจจะโอนเข้าบัญชีชาวบ้านหรือโอนให้ อบต.ไปจัดซื้ออุปกรณ์



สำหรับแรงงานในการซ่อมแซมบ้านเรือนของประชาชนนั้น ให้ อบต.กับ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเน้นชาวบ้านจิตอาสา เป็นหลัก หากไม่เพียงพอ ให้ขอกำลังสนับสนุนจากอำเภอที่มีกำลังอาสาสมัครรักษาดินแดน ให้ลงมาช่วยซ่อมแซมเพิ่มเติม



ด้านการเกษตรให้ชาวบ้านเร่งสำรวจความเสียหายพืชผลทางการเกษตรของตนเองว่าเสียหายเท่าไร แล้วแจ้งไปยังผู้ใหญ่บ้าน เพื่อจะได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาสำรวจประเมินความเสียหายและทำเรื่องจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาต่อไป



จากนั้น ผวจ.พร้อมคณะได้ลงพื้นที่สำรวจหลังคาบ้านเรือนของชาวบ้านที่ได้รับความเสียหาย และพบปะให้กำลังใจ โดยย้ำกับชาวบ้านทุกคนว่าหน่วยภาครัฐเร่งให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและเต็มที่




ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจพบว่ามีสวนทุเรียนของนางวีระชน อายุ 45 ปี เนื้อที่กว่า 10 ไร่ ปลูกทุเรียน มังคุด เงาะ อะโวคาโด ได้รับความเสียหายเช่นกัน ทุเรียนกว่า 50 ต้น ที่ลูกกำลัง โต ถูกแรงลมพัดหล่นจากต้นจำนวนมากเช่นกัน




คุณอาจสนใจ

Related News