เศรษฐกิจ

สภาองค์การนายจ้างฯ ค้านค่าแรง 400 บาท ไม่ควรเท่ากันทั่วประเทศ

โดย attayuth_b

2 พ.ค. 2567

62 views

สภาองค์การนายจ้างฯ ไม่เห็นด้วย ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ควรเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ เพราะแต่ละพื้นที่มีเศรษฐกิจต่างกัน


นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ควรเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ เพราะแต่ละพื้นที่มีเศรษฐกิจต่างกัน มีเพียงไม่กี่ประเทศในโลก ที่ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งก็จะเป็นประเทศเล็กๆ และการปรับค่าจ้างในอัตราเดียวกันทั่วประเทศเป็น 400 บาทต่อวัน จะทำให้มีบางจังหวัด ค่าจ้างจะขึ้นแบบกระชาก เช่น สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่วันนี้ค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 330 บาท ก็จะกระชากขึ้นมากว่า 20% ผู้ประกอบการก็จะอยู่ไม่ได้ ตาย-เจ๊งแน่นอน อีกปัจจุยัที่ต้องคิด หากค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ การลงทุนจะกระจุกตัวในเมือง ไม่กระจายไปต่างจังหวัด เพราะผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าขนส่งที่สูงกว่าการลงทุนในเมือง และยังเสี่ยงต่อการย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ยังใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 70% เช่น อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป , สิ่งทอ เพราะจะแข่งขันลำบาก ซึ่งวันนี้ปัญหาสินค้าจีนราถูกทะลักเข้ามาตีตลาด ก็ยังแก้ไม่ตก ทำให้ผู้ผลิตไทยอยู่ยากขึ้น ซึ่งการขึ้นค่าแรง อาจมองได้ว่า ส่งผลดีต่อกำลังซื้อในระยะสั้นก็จริง แต่ระยะยาวจะทำให้สินค้าแพงขึ้น ประชาชนจะซื้อไม่ไหว และปัยหาก็จะวนลูปกลับมาสู่วงจรการปรับค่าแรงอีก เป็นวงเวียนไม่สิ้นสุด

โดยนายธนิต ย้ำว่า ค่าจ้างขั้นต่ำ ควรปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ตามความเหมาะสมของแต่ละจังหวัด และต้องไม่ปรับขึ้นแบบกระชาก ที่สำคัญรัฐบาลต้องไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานคณะกรรมการค่าจ้าง หรือ ไตรภาคี ซึ่งจะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้

เช่นเดียวกับผู้ประกอบการ S MEs ที่บอกว่า ค่าจ้าง 400 บาท เอสเอ็มอี. ไปต่อไม่ไหว อาจถึงขั้นหยุด หรือ ปิดกิจการ เพราะค่าแรงที่ปรับขึ้น ยังส่งผลต่อต้นทุนอื่นด้วย เช่น ต้องจ่ายสมทบประกันสังคมมากขึ้น เป็นต้น แต่หากรัฐบาลยืนยันต้องปรับขึ้น ก็แนะนำให้ทยอยปรับแบบขั้นบันได จนครบ 400 บาท พร้อมมีมาตรการชดเชย หรือ เยียวยาผู้ประกอบการ เช่น ลดค่าน้ำ ค่าไฟ ภาษีนิติบุคคล และจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเสริมสภาพคล่อง ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี.ไปต่อได้ ที่สำคัญรัฐต้องควบคุมค่าจ้างแรงงานในระบบ กับ นอกระบบ หรือ แรงงานต่างด้าว ที่ไม่มีทักษะ และเสียภาษีให้ประเทศด้วย


รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/DkHF8MND9zk

คุณอาจสนใจ