เทคโนโลยี

ไม่ต้องง้อ เครื่องช่วยฟังราคาแพง วิจัยชี้ AirPods Pro ใช้งานได้ดีเท่ากัน แถมใส่แล้วเท่กว่าด้วย

โดย nattachat_c

18 พ.ย. 2565

491 views

มีใครเคยเห็นผู้ที่ใส่ ‘เครื่องช่วยฟัง’ อยู่ตรงหูไหม ที่ส่วนใหญ่จะมีตัวเครื่องเป็นสีเนื้อ แล้วเกี่ยวบริเวณใบหู ซึ่งเครื่องช่วยฟังเหล่านี้ จะถูกใช้โดย ‘ผู้มีภาวะสูญเสียการได้ยิน’ ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการได้ยินลดลง

แล้วรู้ไหม บนโลกใบนี้ เขามีการประมาณการว่า จำนวนประชากร 1 ใน 5 ของโลกมีปัญหาด้านการได้ยิน ส่วน ‘ผู้มีภาวะสูญเสียการได้ยิน’ ในสหรัฐฯมีถึง 16%

และภาวะสูญเสียการได้ยินนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นกับประชากรวัย 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น แต่ยังเกิดได้กับทุกวัย ไม่ว่าจะเกิดจากโรคต่างๆ หรือจากอุบัติเหตุ


ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แบ่งระดับของการได้ยินดังนี้

  • ระดับการได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 เดซิเบล เป็นการได้ยินปกติ
  • ระดับ 1 การได้ยิน 26-40 เดซิเบล มีภาวะหูตึงเล็กน้อย
  • ระดับ 2 การได้ยิน 41-60 เดซิเบล มีภาวะหูตึงปานกลาง
  • ระดับ 3 การได้ยิน 61-80 เดซิเบล มีภาวะหูตึงอย่างรุนแรง
  • ระดับ 4 การได้ยิน 81 เดซิเบล ขึ้นไป มีภาวะหูหนวก


ซึ่งผู้ที่มีภาวะสูญเสียการได้ยิน หรือหูตึง นั้น มีถึง 75% ที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟัง เพราะเครื่องช่วยฟังระดับมืออาชีพมีราคาแพง และผู้สวมใส่ยังกังวลว่าจะทำให้ดูแก่ นอกจากนั้น พวกเขายังต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายครั้งเพื่อปรับแต่งให้เหมาะสมและดูแลรักษา (เสียเงินบ่อย)


แต่จากการศึกษาและวิจัยของ เยนฟู่เฉิง (Yen-Fu Cheng) แพทย์หูคอจมูกจากโรงพยาบาลทหารผ่านศึกไทเปในไต้หวัน เขาได้ศึกษา 21 คนที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยจะได้รับอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

1. เครื่องช่วยฟังระดับพรีเมียม ราคา 10,000 เหรียญสหรัฐ (350,000 บาท)

2. ครื่องช่วยฟังขั้นพื้นฐาน ราคา 1,500 เหรียญสหรัฐ (52,500 บาท)

3. AirPods Pro ราคา 249 เหรียญสหรัฐ (8,715 บาท) เชื่อมแอป Live Listen

4. AirPods 2 ราคา 129 เหรียญสหรัฐ (4,515 บาท) เชื่อมแอป Live Listen


โดยจะมีหน้าที่อ่านประโยคสั้นๆ ให้อาสาสมัครฟัง จากนั้นจึงขอให้อาสาสมัครพูดประโยคนั้นตาม

ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง หากเสียงนั้นไม่ได้มาจากด้านหน้าของผู้ฟัง AirPods Pro มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเครื่องช่วยฟังระดับพรีเมียม ส่วนสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ AirPods Pro มีประสิทธิภาพแย่กว่าเครื่องช่วยฟังระดับพรีเมียมและเครื่องช่วยฟังขั้นพื้นฐานเพียงเล็กน้อย

ส่วน AirPods 2 ไม่ดีเท่าเครื่องช่วยฟังในสถานการณ์ที่เงียบหรือมีเสียงดัง แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย และในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เมื่อแหล่งกำเนิดเสียงอยู่ต่อหน้าอาสาสมัคร AirPods ทั้งสองรุ่นก็ช่วยให้อาสาสมัครฟังเสียงต่างๆ ได้ดีขึ้น


จึงได้สรุปว่า AirPods ระดับไฮเอนด์มีศักยภาพในการทำหน้าที่เป็นเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้ใหญ่ที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อยถึงปานกลาง และเหนือกว่าเครื่องช่วยฟังแบบดั้งเดิมในการทดสอบหลายชุด


ซึ่งประสิทธิภาพที่แตกต่างกันของ AirPods Pro และ AirPods 2 นั้น หยิง-ฮุ่ยไหล (Ying-Hui Lai) วิศวกรชีวภาพ จาก มหาวิทยาลัยแห่งชาติ หยางหมิงเชี่ยวตุง ในไต้หวันกล่าวว่า แม้ว่าทั้ง AirPods 2 และ AirPods Pro จะมีเทคโนโลยี Live Listen ที่ขยายเสียง แต่เฉพาะรุ่น Pro เท่านั้นที่มีการตัดเสียงรบกวนแบบแอ็คทีฟ ซึ่งจะตรวจจับและปิดกั้นเสียงภายนอกบางเสียง นี่อาจช่วยอธิบายความแตกต่างระหว่างเอียร์บัดไร้สายสองชุด


และเหตุผลสองประการที่อาจอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างทั้งสองสถานการณ์ (เงียบ และ เสียงดัง) อาจเกี่ยวข้องกับวิถีการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง เช่นเดียวกับอัลกอริธึมการประมวลผลสัญญาณขั้นสูงโดยเครื่องช่วยฟังระดับพรีเมียม


การค้นพบนี้หวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้วิศวกรออกแบบเครื่องช่วยฟังและผลิตภัณฑ์ขยายเสียงส่วนบุคคลที่มีความไวมากขึ้นในบางทิศทาง


หูฟังเอียร์บัดไร้สายเป็นทางเลือกที่เข้าถึงได้มากขึ้น และจำนวนของเอียร์บัดก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ Google จนถึง Samsung ไปจนถึง Sony ซึ่งสร้างเอียร์บัดไร้สายขึ้นมาพร้อมคุณสมบัติพิเศษที่อัดแน่นอยู่ในการอัปเดตผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทุกครั้ง


เราคิดว่างานของพวกเราสามารถกระตุ้นให้ผู้ผลิต รวมคุณสมบัติต่างๆ เพื่อช่วยผู้ที่สูญเสียการได้ยิน เช่นเดียวกับคุณสมบัติในการปรับปรุงเสียงเพลงและพอดแคสต์ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องแนะนำขั้นตอนบังคับบางอย่างสำหรับการติดฉลากเอียร์บัดที่ช่วยได้และไม่ได้ผล
------------

คุณอาจสนใจ

Related News