สังคม
เปิดกลลวงสาวแสบ ตุ๋นข้าราชการบำนาญ อ้างได้รับเงินบำเหน็จ ลวงให้กดลิงก์ เงินเกลี้ยงบัญชี 4 ล้าน
โดย thichaphat_d
20 ธ.ค. 2567
177 views
เปิดพฤติการณ์หลังตำรวจไซเบอร์จับสาวแสบ ตุ๋นข้าราชการบำนาญเกษียณสภาการศึกษา วัย 65 อ้างได้สิทธิรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ 2 แสนบาท ลวงให้กดลิงก์-กรอกข้อมูล จนเข้าคอนโทรลโทรศัพท์มือถือได้ ก่อนล่อให้สแกนหน้ายืนยันตัวตน หาจังหวะกดโอนเงินออกเกลี้ยงบัญชีกว่า 4 ล้านเศษ
ด้านตำรวจไซเบอร์ เผย ตรวจพบบัญชีม้าเอี่ยว 5 บัญชี ระบุ เงินถูกกดออกไปหมดแล้วแถวๆประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่หนึ่งในบัญชีม้า อ้างไม่ได้รับจ้างเปิดบัญชี แต่นำบัญชีไปกู้เงินกับแอปในออนไลน์ คาดถูกนำไปใช้
กรณีที่ พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1 นำทีมเจ้าหน้าที่ขยายผลจับกุมผู้ต้องหาแก็งคอลเซ็นเตอร์หลอกเหยื่อซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญอายุ 65 ปี จนหลงเชื่อกดลิงก์จาก SMS ลวงเหยื่อสแสกนหน้าอ้างให้ยืนยันตัวเตนรับเงินบำเหน็จ เมื่อยื่นยันตัวตนเสร็จแล้ว พบว่าไม่ได้รับเงินบำนาญตามที่คนร้ายบอก ก่อนพบว่าเงินในบัญชีถูกโอนออกไปกว่า 4 ล้านบาทเศษ
ทีมข่าวได้คุยกับ พ.ต.ท.ภานุวัฒน์ กาละศรี สว.กก.1 บก.สอท.1 ขยายความถึงกรณีดังกล่าวบอกว่า ไม่นานมานี้ มีผู้เสียหายเป็นข้าราชการบำนาญ อายุ 65 ปี ชาวกรุงเทพมหานคร แจ้งว่ามีคนร้ายแอบอ้างเป็นเป็นเจ้าหน้าที่ของสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ติดต่อมาเพื่อแจ้งสิทธิในการขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยจะได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพ จำนวน 200,000 บาท แต่ต้องเข้าไปกรอกข้อมูลยืนยันสิทธิเพื่อขอรับเงินก่อน ซึ่งคำให้การของผู้เสียหาย บอกว่าที่หลงเชื่อเนื่องจากว่ายอดนี้เป็นยอดเงินที่ตรงกันกับยอดที่จะได้
จากนั้นคนร้ายได้ส่งลิงก์มาให้ทาง SMS และเมื่อกดลิงก์เพื่อกรอกข้อมูลบัญชีส่วนตัวทั้ง บัญชีธนาคาร / รหัสประจำตัวประชาชน และอ้างว่าหากกรอกกรอกข้อมูลในลิงค์แล้วมีสิทธิ์จะได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพ ผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จากนั้นให้แอดไลน์กรมบัญชีกลางเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและกรอกข้อมูลอีกครั้ง
ทั้งนี้จากการสอบปากคำและดูพฤติการณ์ของมิจฉาชีพเชื่อได้ว่า เป็นวิธีการส่งลิ้งก์เพื่อหลอกลวงหวังเข้าไปควบคุมโทรศัพท์มือถือ และหากกรอกข้อมูลหรือกดลิงก์แล้ว จึงถือว่าเป็นการยินยอมให้มิจฉาชีพสามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งตำรวจไซเบอร์ขอยืนยันว่ามีวิธีการแบบนี้ที่สามารถบังคับมือถือได้จริง
จากนั้นมิจฉาชีพให้ผู้เสียหายสแกนใบหน้าจำนวนหลายครั้ง เพราะในปัจจุบันหากโอนเงินเกิน 50,000 ต่อครั้งต้องมีการสแกนใบหน้า จากนั้นมิจฉาชีพให้ผู้เสียหายเดินทางไปยืนยันตัวตนเพื่อรับเงินบำเหน็จดำรงชีพหน้าตู้เอทีเอ็ม จึงได้เดินทางไปที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารแล้วเสียบบัตรประจำตัวประชาชนและทำการสแกนหน้าเพื่อยืนยันตัวตนผ่านตู้เอทีเอ็ม เมื่อยืนยันตัวตนเสร็จแล้ว พบว่าไม่ได้รับเงินบำนาญตามที่คนร้ายบอก และพบว่าเงินในบัญชีถูกโอนออกไปจากการควบคุมโทรศัพท์มือถือของมิจฉาชีพ กว่า 4 ล้านบาท โดยยอด 4 ล้านบาทนี้ ถูกโอนไปจำนวน 6 ครั้ง เฉลี่ยความถี่ในการโอน 1 นาทีต่อครั้ง
ส่วนผู้เสียหายมาเอะใจหลังจากที่พบว่าไม่ได้เงิน 200,000 บาทตามตกลง จากนั้นจึงโทรศัพท์ไปตรวจสอบกับสภาการศึกษา ก่อนได้รับคำตอบว่าไม่ใช่ความจริงไม่มีการโอนเงินให้ 200,000 บาท
จากนั้นเจ้าตัวได้ไปตรวจสิงเงินในบัญชีและพบว่าเงินถูกกดออกไปทั้งหมดแล้ว 4 ล้านบาทเศษ จึงเชื่อว่ามิจฉาชีพมาหลอกก่อนมาแจ้งความที่ตำรวจไซเบอร์
โดยเคสนี้ทางตำรวจไซเบอร์ระบุว่าผู้เสียหายหลังจากทราบว่าถูกหลอกตกใจมาก จึงลบข้อมูลหลักฐานทั้งลิงค์ที่ส่งมายัง SMS หรือ ไลน์ของกรมบัญชีกลางต่างๆออกทั้งหมดทั้งหมด นำมาเพียงสเตทเม้นท์ที่มักร้องต่อตำรวจไซเบอร์เท่านั้น ซึ่งทางตำรวจไซเบอร์เมื่อสอบปากคำและดูความเคลื่อนไหวของสเตทเม้นท์เชื่อได้ว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกันจึงขยายผลเรื่องนี้ต่อ และออกหมายจับไว้แล้วเบื้องต้น 5 ราย
รายที่ 1-2 เป็นบัญชีม้าแถวที่ 1 รายที่ 3-4 เป็นบัญชีม้าแถวที่ 2 และรายที่ 5 เป็นบัญชีม้าแถวที่ 3 และขณะนี้ทราบแล้วว่ามีการทยอยเงินออกไปทั้งหมดแล้ว 4 ล้านบาทใกล้ๆกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยกดเป็นเงินสดไม่มีการแปลงสกุลเงินแต่อย่างใด สำหรับกรณีนี้ ทางตำรวจไซเบอร์เชื่อว่าคนร้ายน่าจะมีข้อมูลของข้าราชการบำเหน็จบำนาญเนื่องจากข้อมูลรั่วไหล ตามกระแสข่าวก่อนหน้านี้
ส่วนบัญชีม้า ภายหลัง พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึงผบก.สอท.1 ได้สั่งการให้ขยายผล พบว่าก่อนหน้านี้จับได้แล้ว 3 ราย คือบัญชีม้าแถว 1 จำนวน 1 ราย และแถว 2 รวบได้ทั้ง 2 ราย ส่วน บัญชีม้าแถวที่ 5 อยู่ระหว่างติดตามตัว แต่ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. จับบัญชีมาแถวที่หนึ่งได้เพิ่มเติม 1 ราย คือ น.ส.พัชราภรณ์ (สงวนนามสกุล ) อายุ 30 ปี ชาว จ.สระแก้ว โดยควบคุมตัวได้ที่บริเวณริมถนนสาธารณะ ต.วังใหม่ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหา
-ร่วมกันลักทรัพย์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
-ร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
-ร่วมกันเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
-ร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบและเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น
-และเปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้องโดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือคามผิดทางอาญาอื่นใด
โดย พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ ได้เข้าสอบปากคำด้วยตัวเอง ช่วงหนึ่ง น.ส.พัชราภรณ์ ผู้ต้องหา ให้ข้อมูลว่า ตัวเองไม่ได้รับจ้างเปิดบัญชีม้า แต่เอาบัญชีตัวนี้ไปกู้เงินในแอปหนึ่ง และได้ให้สมุดบัญชีธนาคารไป พร้อมทั้งสำเนาบัตรประชาชนหน้า-หลังไป แต่ปรากฏว่าแอปเงินกู้นี้ไม่ได้อนุมัติเงินให้ ขณะที่ผู้การฯ แจ้ ได้บอกกับ ผู้ต้งหาไปว่า แต่สุดท้ายกลายเป็นบัญชีม้า ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย ก็ต้องยอมรับผิดไป จากนั้นตำรวจได้ตัวส่งดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
หลังจากจับบัญชีม้า ได้แล้วบางส่วน ทีมข่าวถามกับพ.ต.ท.ภานุวัฒน์ ว่า ผู้เสียหายมีโอกาสในการได้คืนหรือไม่ พ.ต.ท.ภานุวัฒน์ ระบุว่า สำหรับคดีนี้เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วมีบัญชีมาเกี่ยวข้องทั้งหมด 5 บัญชี และล่าสุดทาง ปปง. มีการประกาศเรื่องการเฉลี่ยทรัพย์คืน จากนี้ต้องไปดูว่าผู้เสียหายเคสนี้เข้าเงื่อนไขหรือไม่
หากตรวจสอบบัญชีมาแล้วเข้าข่ายก็สามารถเข้าสู่กระบวนการเฉลี่ยทรัพย์คืนได้ ก่อนจะทิ้งท้ายฝากไปถึง ประชาชนที่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จบำนาญ ว่าอย่าหลงเชื่อและกดลิงก์ใดๆๆ และให้ตรวจสอบจากสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการก่อนทุกครั้ง
ด้าน พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ ยืนยันว่า ตำรวจไม่ได้ทำงาน 2 มาตรฐาน ตำรวจให้ความสำคัญทุกคดี ไม่มีคดีไหนให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ท่านสามารถเดินมาดูที่ สอท.1 ได้เลยว่าประชาชนเสียหายมากแค่ไหน บางคนร้องไห้มาร้องเรียนเยอะ ยืนยันทำงานทุกวัน และทำงานอย่างเท่าเทียม ไม่มี VIP กฎหมายเท่าเทียมกันทั้งหมด
รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/QtdG9N7pieU