สังคม

กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ แถลงสถานการณ์โควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16

โดย onjira_n

18 เม.ย. 2566

356 views

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวอัปเดทสายพันธุ์โควิด19 ในประเทศไทยว่า ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 มา ทาง WHO ได้จัดระดับการแพร่เชื้อสายพันธุ์ไว้ 3 ระดับ คือ สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าติดตาม VUM, สายพันธุ์ที่น่าสนใจ VOI และ สายพันธุ์ที่น่ากังวล VOC ซึ่งวันนี้เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนเป็นสายพันธุ์หลัก และในประเทศไทยได้จัดไว้ 2 ระดับ คือสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าติดตาม VUM มี 7 สายพันธุ์ได้แก่ BQ.1. BA.2.75 CH.1. XBB XBB.1.16 XBB.1.9.1 และ XBF ส่วนสายพันธุ์ที่น่าสนใจ VOI มี 1 สายพันธุ์ คือ XBB.1.5



สำหรับสถานการณ์ทั่วโลกช่วงวันที่ 20-26 มีนาคม 2566 พบว่าสายพันธุ์ XBB.1.5 พบแล้ว 95 ประเทศ สัดส่วนร้อยละ 47.9 ตามมาด้วย XBB ร้อยละ 17.6 XB1.16 ร้อยละ 7.6 และ XBB.1.9.1 ร้อยละ 4

โดยปัจจุบันยังไม่มีการรายงานความรุนแรงในการก่อโรคเพิ่มขึ้น และข้อมูลจากห้องปฎิบัติการแสดงให้เห็นว่า XBB.1.16 มีอัตรากาเติบโตเพิ่มขึ้น เพื่อเทียบกับ XBB และ XBB.1.5 ตามลำดีบ แต่คุณสมบัติในการหลบภูมิคุ้นกันยังเหมือนเดิม ส่วนสถานการณ์สายพันธุ์ XBB.1.16 พบมากที่สุเดในประเทศอินเดีย รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.9 เป็นร้อยละ 7.2



เมื่อเทียบความสามารถและลักษณะกับสายพันธุ์ XBB.1.5 พบว่าคล้ายกัน หลบภูมิคุ้มกันได้ดี ทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนลดลง เพียงแต่มีความสามารถแพร่กระจายเร็ว XBB.1.5 กว่าเล็กน้อย ส่วนอาการที่พบหากติดเชื้อคือ เป็นไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกจะแตกต่างที่มีตาแดง ขี้ตาเหนียว ลืมเปลือกตาไม่ขึ้น ส่วนความรุนแรงยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์แต่อย่างใด



ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทยช่วงวันที่ 8-14 เมษายน 2566 พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์ XBB.1.16 เพิ่มขึ้น 4 ราย ขณะที่สายพันธุ์ XBB.1.9.1 เพิ่มขึ้นจากร้อย 5.1 เป็น ร้อยละ 15 ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์มีแนวโน้มที่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น โดย ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ XBB.1.16 แล้วรวม 27 ราย แบ่งเป็นเดือนมีนาคม 22 ราย เดือนเมษายน 5 ราย



ทั้งนี้มีผลวิจัยตีพิมพ์จากประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2566 รายงานว่า อาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 ไม่แตกต่างจากไข้หวัดใหญ่ ส่วนเยื่อบุตาอักเสบจะพบมากในเด็กประเทศอินเดีย ส่วนการฉีดวัคซีนนั้นยังได้ผลดีอยู่



ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ประชุมกับโรงพยาบาลจังหวัดทุกแห่งให้ส่งรายงานเพิ่มขึ้น 1 โรงพยาบาลส่งรายงานขั้นต่ำ 5 ตัวอย่าง ส่งผลให้มีตัวอย่างเพิ่มขึ้น 700 ตัวอย่างต่อสัปดาห์ โดยเน้นกลุ่มเสียชีวิต กลุ่มมีอาการรุนแรง กลุ่มผู้บกพร่องระบบภูมิคุ้มกัน กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และ กลุ่มคลาสเตอร์เล็ก-ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือเสียชีวิต เพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ต่อไป อีกทั้งการตรวจหาเชื้อเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งรูปแบบ ATK หรือ RT-PCR ยังคงตรวจหาเชื้อได้ปกติ และเน้นย้ำมาตรการป้องกันส่วนบุคคล สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ ฉีดวัคซีน จะช่วยลดการแพร่เชื้อ โดยเฉพาะเข้าร่วมกิจกรรมที่มีความเสี่ยง และผู้ที่ติดเชื้อแล้วแนะนำให้เข้ารับวัคซีนโควิด-19 เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน

คุณอาจสนใจ

Related News