เลือกตั้งและการเมือง
มหาดไทย ยกคณะกรมที่ดิน ตรวจสอบปมพิพาท “เขากระโดง” จ.บุรีรัมย์
โดย kanyapak_w
20 ธ.ค. 2567
689 views
มหาดไทย ยกคณะกรมที่ดิน ตรวจสอบปมพิพาท “เขากระโดง” จ.บุรีรัมย์ “ทรงศักดิ์” ฮึ่ม การรถไฟแห่งประเทศไทย ก้าวล่วงสิทธิ์ประชาชน ชาวบ้านกว่า 400 คน ปรบมือแช่งรฟท. คิดจะฮุบเขากระโดง บอกอธิบดีกรมที่ดิน หากถูกฟ้อง พร้อมไปเป็นจำเลยร่วม เปิดข้อมูลใหม่ รฟท. เคยรับรองพื้นที่ทั้ง 2 ตำบล 271 แปลง ไม่ใช่ที่ดินของรฟท. ย้ำชัดหลักฐานไม่เพียงพอเพิกถอนโฉนดที่ดิน ขณะ สส.บุรีรัมย์ ภูมิใจไทย ซัดทุกเลือกตั้งถูกขุดประเด็นเขย่าการเมือง หวังตี “เนวิน” ฟาด “วิโรจน์” มั่ว กล่าวหาย้ายหลักกิโล สร้างค่ายทหาร ร้อนถึงพระ! เจ้าอาวาท โอด ถ้าลากเส้นตามแนวรฟท. จะส่งผลกระทบอย่างมาก เพราะเป็นจุดไว้ใช้เผาศพ
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการมหาดไทย นำ นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน นายสนอง เทพอักษรณรงค์ สส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณี “เขากระโดง” จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบกว่า 400 คน เข้าร่วม
ที่กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ 1 นายทรงศักดิ์ กล่าวว่า วันนี้พยายามนำข้อเท็จจริงมาสะท้อนปัญหาให้เห็นถึงข้อพิพาท เรื่องที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นประเด็นไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เมื่อก่อนไม่ค่อยมีคนให้ความสนใจ พี่ต้นต้องพูดอย่างนี้ เพราะตนเป็นคนบุรีรัมย์เหมือนกัน เป็นคนบุรีรัมย์เกิดมาก็เห็นเขากระโด เห็นประชาชนอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว
เห็นถนนมาจากประโคนชัยมายังบุรีรัมย์ไปมาหาสู่กัน ซึ่งเป็นคนในจังหวัดเดียวกัน และเป็นประเด็นผิดพลาดมาจะเป็นเรื่อง มีคนเข้าใจกันคลาดเคลื่อน มากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่ดิน ของการรถไฟหรือไม่ และมีข่าวที่ออกไป จนเป็นประเด็นปัญหาทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน
นายทรงศักดิ์ ยังระบุอีกว่า จากการรับฟังประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ 5,000 ไร่ รวมไปถึงศูนย์ราชการและวัดที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว หากฟังทั้งหมดตนเข้าใจว่า เหมือนการรถไฟจะไปก้าวร่วงสิทธิ์ของประชาชน ตนเชื่ออย่างนี้ เพราะการได้มาซึ่งที่ดินของการรถไฟมีกฎหมายเฉพาะ ซึ่งไม่น่าจะเป็นที่ดินของการรถไฟ เป็นที่ดินที่มีความพิพาทเรื่องของความคิดเห็นประชาชนที่รับฟังจากสื่อมวลชน ที่นำเสนอ น่าจะมีความเข้าใจไปในทำนองว่าประชาชนไปอยู่ในที่ของการรถไฟเพราะฉะนั้นวันนี้ถือเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ ที่ทางกรมที่ดินและผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนราชการได้เชิญประชาชน ที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มาพบกัน หลายคนก็แสดงเอกสารสิทธิ์ที่เป็นโฉนด ซึ่งบางคนเห็นได้ว่าโฉนดเก่ามากแทบขาด
ตนในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการให้กำกับดูแลกรมที่ดิน ตนเน้นย้ำกับอธิบดีอยู่เสมอว่าเริ่มพิพาทที่เป็นการริดรอนสิทธิแบบนี้ จะต้องมีหลักฐาน ที่หนีบข้อมูล ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพราะกระทบกับสิทธิ์ของประชาชนไม่ใช่น้อย 5,000 กว่าไร่ 900 กว่าแปลง และต้องทำให้เกิดความชัดเจนและย้ำเน้นอยู่เสมอ เพิ่งจะนำมาสู่ การนำเอกสารสิทธิ์ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของทุน
วันนี้พอมีเรื่องข่าวของความไม่ชัดเจนเรื่องที่ดินทำให้ประชาชนที่ถือเอกสารสิทธิ์ ไม่มีความมั่นใจ พร้อมกับระบุว่าการไถ่ถอนเอกสารสิทธิ์จากธนาคารหากต้องการยื่นต่อธนาคารอีกครั้งเราจะทำต่ออีกไม่ได้ เนื่องจากธนาคารจะไม่รับเอกสารที่ดินที่มีกรณีพิพาท ถือว่าจำเป็นต้องเร่งรัดเพื่อให้เกิดความชัดเจน
ด้านนายเจนกิจ เชฏฐวาณิชย์ รองอธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจงประชาชนกว่า 400 คน ที่ได้รับผลกระทบ ว่า เหตุผลที่กรมที่ดินมาวันนี้ เพราะยังมีข้อเท็จจริงที่ยังไม่ตรงกับความเป็นจริงในพื้นที่ จึงมีนโยบายนำเรื่องนี้มาชี้แจงกับประชาชนให้ทราบ ซึ่งภารกิจของกรมที่ดิน คือการออกเอกสารสิทธิ์ให้กับประชาชน ในพื้นที่เขากระโดง มี 2 ตำบล คือ เสม็ด และอิสาน ซึ่งออกไปแล้ว 995 แปลง ยืนยันว่าเราไม่ได้ดำเนินการเพียงหน่วยงานเดียว มีหน่วยงานอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นท้องที่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ รวมถึงส.ป.ก. และในเขากระโดง ก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเข้ามาเป็นคู่ความ กับกรมที่ดินในปัจจุบัน
รองอธิบดีกรมที่ดิน ย้ำว่า เราตรวจสอบแล้วพบว่ามีการระวางชี้แนวเขต ที่การรถไฟได้รับรับรองว่า ไม่ใช่ที่ดินของการรถไฟ ซึ่งตรวจสอบจากข้อมูลในสารระบบ 2 ตำบล 271 แปลง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ที่ยังไม่เคยปรากฏในข่าว ยืนยันว่ากระบวนการ เราตรวจสอบแล้วครบถ้วนตามกฏหมายที่ดิน จนปี 2539 มีข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับการรถไฟ จึงเป็นที่มาของการจัดทำแผนที่ปี 2539 ที่แก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน จึงนำแผนที่ฉบับนี้ไปใช้ต่อสู้ในคดีของประชาชน จึงเป็นที่มาของคำพิพากษาทั้ง 3 คดี
3 คดีนี้ กรมที่ดินไม่เคยเข้าเป็นคดีด้วย มีแต่ประชาชนที่เข้าต่อสู้โดยลำพัง ดังนั้นการรถไฟ จึงใช้ 3 คดีนี้ มาใช้ฟ้องกรมที่ดิน เพื่อให้อธิบดีกรมที่ดินใช้อำนาจเพิกถอน ในประเด็นนี้ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่า เป็นข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องไป ศาลไม่อาจก้าวล่วงได้ จึงได้มีคำสั่งของศาลปกครองกลาง ให้กรมที่ดิน แต่งตั้งกรรมการสอบสวน และได้ดำเนินการครบถ้วนแล้ว
ขณะที่ นายสมบัติ ลาอ่อน เจ้าพนักงงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ชี้แจงว่า ที่ดินดังกล่าวมีข้อพิพาทมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งกรมที่ดินพยายามพิจารณาตามพยานหลักฐานให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ซึ่งในส่วนที่ศาลได้มีคำพิพากษา มีอยู่ 3 คำพิพากษา ทั้งการรถไฟฟ้องไล่ราษฎร และราษฎรฟ้องกรมที่ดิน ซึ่งกรมที่ดินทำตามคำพิพากษาเป็นอย่างครบถ้วน โดยเป็นการพิพาทระหว่างประชาชน 35 รายกับการรถไฟ
ส่วนคำพิพากษาศาลปกครองกลางเป็นกรณีสำคัญการรถไฟได้อาศัยข้อเท็จจริงจากศาลคดีนั้นมาให้กรมที่ดิน ตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 ที่ได้วินิจฉัย พร้อมกับระบุว่าไม่ได้ก้าวล่วงอำนาจของอธิบดีกรมที่ดินที่จะใช้อำนาจในการเพิกถอนหรือไม่ ซึ่งในส่วนนี้อธิบดีกรมที่ดินได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่ดินบริเวณนี้ ซึ่งจากการพิจารณาตามพยานหลักฐานประกอบคำพิพาก ที่มาจากพิจารณาจากทุกภาคส่วน
ขณะเดียวกัน กรณีที่การรถไฟกล่าวอ้างไม่มีความชัดเจนเพียงพอที่จะเอามาใช้ในการเพิกถอนโฉนดที่ดินของประชาชนได้ เพราะฉะนั้นในส่วนนี้คณะกรรมการตามมาตรา 61 เสนอให้ยุติการดำเนินการในส่วนนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนตามที่ประชาชนได้ต่อสู้
ส่วนปัจจุบันการดำเนินการการรถไฟก็อยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีกรมที่ดิน ซึ่งก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ เพราะฉะนั้นขณะนี้กรมที่ดินก็อยู่ระหว่างการรอผลพิจารณาการอุทธรณ์ ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมาและจะดำเนินต่อไปคงจะต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ชัดเจนและเพียงพอ จึงจะสามารถดำเนินการ ในส่วนของกลุ่มที่ดินได้
ด้านนายสนอง เทพอักษรณรงค์ สส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีข้อพิพาทเขากระโดง ว่า ส่วนตัวตนเชื่อว่าไม่มีพี่น้องชาวบุรีรัมย์คนใดคิดจะโกงที่ดินของราชการ เพราะตนเป็นจังหวัดบุรีรัมย์เห็นความเจริญของพื้ยงนที่มาโดยตลอด และตนมีโอกาสได้ดข้าร่วมประชุมที่บ้านศิลาทอง โดยให้พี่น้องที่ถือครองที่ดิน นำโฉนดที่ตนถือครองมาแสดง ซึ่งทำให้เห็นว่าโฉนดที่ดินที่พี่น้องถือครองอยู่นั้นเป็นเอกสิทธิ์ตามกฎหมาย ที่ออกโดยกรมที่ดิน และโฉนดของพี่น้องบางคน ถือครองมาตั้งแต่ในสมัย ปู่ ย่า ตา ยาย
นายสนอง กล่าวต่อว่า เรื่องที่ดินเขากระโดง สำคัญคือเรื่องการเมือง ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง สมัยก่อนมีก็มักจะมีนักการเมือง นำเรื่องเขากระโดงมาหาเรื่อง และมาโจมตีผู้ที่ครอบครองที่ดินโดยเฉพาะ นายเนวิน ชิดชอบ และเมื่อการเลือกตั้งเสร็จทุกอย่างก็เงียบ และขอยืนยันด้วยความบริสุทธิ์ว่าประชาชนที่อยู่อาศัยได้รับโฉนดได้รับเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนพอดี 35 แปลงที่ศาลมีคำสั่ง กรมที่ดินก็ทำตามคำสั่งของศาลไปแล้ว แต่อีก 7,000 แปลงที่เกิดขึ้นมาใหม่ ไปเกี่ยวข้องอะไรด้วย
ส่วนที่คณะกรรมาธิการทหาร นำโดยนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะคณะกรรมาธิการทหาร ออกมาระบุว่า มทบ.26 เลี่ยงการ ก่อสร้างในที่ดินบริเวณเขากระโดง โดยออกมาระบุว่าเป็นการเลื่อนหลักกิโลเพื่อช่วยเหลือคนบางคนให้ครอบครองที่ดินโดยการจัดตั้งค่ายทหาร ว่า ค่ายทหารไม่ได้อยู่ที่กิโลเมตรที่ 7-8 ไม่ใช่กิโลเมตร แต่อยู่ที่กิโลเมตรที่ 4 แต่เมื่หน่วยงานทหานมาชี้แจงข้อเท็จจริง ทำให้ นายวิโรจน์ เงียบไป เพราะไม่ใช่สิ่งที่ นายวิโรจน์ มากล่าวอ้าง
นายสนอง กล่าวย้ำว่า พวกเราทั้งหมดเราไม่เคยบุกรุกที่หลวง ที่การรถไฟ แต่เป็นที่ดินที่เรามีนส. 3 มีเอกสารสิทธิ์ ที่เราครอบครอง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคนบุรีรัมย์เคารพกฎกติกาและทำตามกฎหมายทุกประการ
ด้านนายปิยะ ปิจนำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากแผนที่ 2 กรกฎาคม 2567 ทางการรถไฟได้มารางวัดแนวเขตที่พิพาท ทำให้มีแผนที่ขึ้นมาพื้นที่ของแผนที่ประมาณ 5,000 กว่าไร่ แบ่ง 4 ส่วน ได้แก่ ที่ดินของภาคประชาชน 2 ตำบล 7 ตำบล คือ ตำบลเสม็ดและตำบลอีสาณ 4,700 ครัวเรือนประชากรที่อาศัยอยู่ 7,600 กว่าคน อยู่มาเป็น 100 กว่าปี ไม่มีเขตอุทยาน และเขตป่าสงวน ซึ่งการที่สื่อออกไปพูดเรื่องว่าที่ดินอยู่ในพื้นที่เขตทยาและเขตป่าสงวนนั้นเป็น fake News , ที่ดินของราชการ มี 12 หน่วยงาน กว่า 100 ไร่ ทางราชการได้คัดค้านแนวเขตของการรถไฟทุกหน่วยงาน
โดยทางธนารักษ์พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ชี้แจงว่า ที่ดินราชการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายและถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย หากการรถไฟจะมาชี้แนวเขตเอาที่ของราชการมาเป็นที่ของรัฐวิสาหกิจ ต้องพิสูจน์สิทธิ์ตามช่องทางของกฎหมาย , ที่ดินสาธารณะ กองอาสารักษาดินแดน ถูกการรถไฟแห่งประเทศไทย ขอพื้นที่คืน ซึ่งจังหวัดได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิสูจน์สิทธิ์ในปี 2521 ได้วินิจฉัยว่าที่ดินของอส.เป็นที่ดินสาธารณะของการรถไฟฯไม่ได้มีเอกสารหลักฐานยืนยัน ไม่มีแผนที่ แต่การรถไฟฯมีหนังสืออ้างสิทธิ์ หากอส.จะใช้พื้นที่ตรงนี้ต้องเช่ากับการรถไฟ และที่ดินของวัด
นอกจากนี้ยังมีเจ้าอาวาสจากวัดป่าศิลาทอง ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบ ได้ชี้แจงว่า ที่ดินที่ก่อสร้างวัดได้ผ่านการพิจารณาโดยได้รับอนุญาตให้สร้างวัดตั้งแต่ปี 2528 พอมาถึงเดือนกรกฎาคม ปี 2567 การรถไฟได้มาปักเสาตรงมุมวัด ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมาก ถ้าลากตามเส้นนั้น เพราะเป็นมุมที่สำหรับเผาศพ มีกระดูก และเป็นของบรรพบุรุษชาวบ้านอยู่มาเก่าก่อน
ขณะที่นายทิวา การกระสัง ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า การสำรวจพื้นที่เขากระโดงตามพระราชกฤษฎีกาปี 2462 ถึงปี 2463 ถูกยกเลิกไปแล้วตามพระราชกฤษฎีกาปี 2464 แสดงให้เห็นว่ากฎหมายทั้งสองฉบับไม่ใช่กฎหมายที่จะให้ที่ดินดังกล่าวเป็นสิทธิ์ของการรถไฟฯ ฉะนั้น จะมาบอกว่าที่ดินตรงนี้เป็นของการรถไฟฯได้อย่างไร วันนี้ตนจะมาทำให้เห็นว่าพวกที่นั่งทางในอยู่ที่กรุงเทพฯ ที่บอกว่าเป็นที่ของการรถไฟฯจริงๅแล้วเป็นอย่างไร
นายทิวา กล่าวว่า ตอนที่จะมีการวางรางรถไฟมีการเขียนแผนที่ไว้ก่อนว่าทางรถไฟจะออกไปทางไหนผ่านที่ไหนบ้าง ซึ่งทางผ่านจังหวัดบุรีรัมย์มีการเขียนแผนที่ส่วนแยกไว้สองส่วน คือส่วนแยกเขากระโดงกับส่วนแยกบ้านตะโก ซึ่งเขียนไว้ก่อนที่จะมีการสำรวจในปี 2462 แต่เพิ่งมีการเริ่มอ้างสิทธิ์ในปี 2517
“เรื่องเขากระโดงทุกคนต่างอ้างตัวหนังสือ ตะแบงเอากฎหมายใกล้เคียงมาตัดสิน โดยไม่มองความเป็นธรรม และความยุติธรรมของพวกเราเลย“ นายทิวา ระบุ
จากนั้น นายทิวา ได้ให้ชาวบ้านปรบมือแช่งการรถไฟฯที่จะมาเอาที่ดินเขากระโดง ขณะเดียวกันให้ชาวบ้านปรบมือให้กับอธิบดีกรมที่ดิน เพราะถ้าไม่มีอธิบดีท่านนี้ชาวบ้านคงไม่มีที่อยู่กันแล้ว พร้อมบอกว่าถ้าอธิบดีกรมที่ดินถูกฟ้อง ก็ขอให้แจ้งในชาวบ้าน เพราะเราจะไปเป็นจำเลยด้วยกัน
ทั้งนี้ กรมที่ดินได้ทำหนังสือเชิญการรถไฟแห่งประเทศไทย มาร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงในวันนี้ด้วย แต่ปรากฏว่าไม่มีการส่งตัวแทนมาร่วมแต่อย่างใด
แท็กที่เกี่ยวข้อง ข่าวการเมือง ,เขากระโดง ,บุรีรัมย์