ข่าวประชาสัมพันธ์ช่อง 3

ความลับที่สร้างความสมบูรณ์ให้กับพืชและสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซา

โดย thichaphat_d

7 ก.ค. 2566

160 views

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่เฉลิมพระเกียรติ ผลักดันต่อเนื่องโครงการ “การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมต้นแบบการปลูกป่าแบบบูรณาการ เพื่อสร้างแหล่งอาหารและพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน” ภายใต้โครงการชุมชนไม้มีค่า จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) การดำเนินโครงการได้อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ (ไม้ป่าและไม้ผล) ร่วมกับการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซา ขยายผลถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซาแบบจำลองธรรมชาติ



ส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซา เพื่อการสร้างแห่งอาหารของชุมชน หนุนชมชนพื้นที่จังหวัด แพร่ ชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการดังกล่าว



บ้านบุญแจ่ม” ต.น้ำเลา อ.ร้องกวาง จ.แพร่ เป็น 1 ใน 4 ชุมชนต้นแบบการเพาะขยายเห็ดป่าไมคอร์ไรซาแบบจำลองธรรมชาติ ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซาแบบจำลองธรรมชาติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง BEDO วว. และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เพื่อศึกษาวิจัยและส่งเสริมให้ชุมชนเพาะเห็ดป่าร่วมกับการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น การปลูกไม้ผลและไม้ดอกเศรษฐกิจร่วมกับการเพาะเห็ดตับเต่า เช่น ลำไย หว้า มะม่วง ขนุน อะโวกาโด หางนกยูง น้อยหน่า และแคบ้าน  การปลูกไม้ป่าเศรษฐกิจ (ไม้วงศ์ยาง Dipterocarpaceae) ร่วมกับการเพาะ เห็ดเผาะ เช่น ยางนา ยางเหียง ยางพลวง เต็ง รัง และพะยอม ผลลัพท์ที่ได้ซึ่งกล้าไม้ที่ใส่เชื้อเห็ดป่าไมคอร์ไรซาจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า กล้าไม้ที่ไม่ได้ใส่เชื้อเห็ดฯ 2 – 3 เท่า และเห็ดจะเริ่มออกดอกและให้ผลผลิตประมาณปีที่หลังจากปลูกต้นไม้ที่ใส่เชื้อเห็ด สร้างแหล่งอาหาร สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจชุมชนได้เป็นอย่างดี



แปลงต้นแบบการเพาะขยายเห็ดป่าแบบจำลองธรรมชาติ ณ.บ้านบุญแจ่ม จ.แพร่ เดิมทีชุมชนมีการเก็บเห็ดในป่ามาบริโภคเป็นปนะจำทุกปีตามฤดูกาล และช่วงแรกทางชุมชนก็ยังไม่มั่นใจว่าต้นไม้จะอยู่กับเห็ดได้อย่างไร ต้นไม้จะโตได้ขึ้นอย่างไร ด้วยการหนุนเสริมให้องค์ความรู้ให้ชุมชนทำงานร่วมกับการวิจัยก็พบว่าการเติมเชื้อเห็ดไมคอไรซาในต้นไม้ แม้เห็ดยังไม่ออก แต่ต้นไม้โตเร็วอย่างเห็นได้ชัด ทนต่อสภาพแวดล้อม สมบูรณ์ ทำให้ค่าใช้จ่ายดูแลต้นไม้ลดลง อาทิ ต้นแคที่ปลูกในแปลงเจริญเติบโตเร็วมากเมื่อเทียบกับไม่เติมเชื้อ และยังสามารถ เก็บดอกแคบ้านมาจำหน่ายและบริโภคได้อีก คนในชุมชนก็เข้ามาเห็น เข้ามาสอบถามและกลับไปทดลองด้วยตัวเองเพราะเห็นประโยชน์



อย่างไรก็ตาม BEDO ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและนิเวศวิทยาของเห็ดป่ากินได้ตั้งเป้าหมาย ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดการเผาป่าหาเห็ดในธรรมชาติ ด้วยการส่งเสริมให้ชุมชนเพาะเห็ดป่าร่วมกับการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ โดยขยายผลจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซาแบบจำลองธรรมชาติทั่วประเทศหลังดำเนินการใน 5 จังหวัด (แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง และเพชรบูรณ์) มีประชาชนสนใจและปลูกต้นไม้ป่าเศรษฐกิจและไม้ผล ที่ใส่เชื้อเห็ดไมคอร์ไรซารวม 40 ชนิด จำนวนรวมประมาณ 17,163 ต้น



BEDO มีนโยบายการใช้เศรษฐกิจเป็นเป็นเครื่องมือหรือกลไกการอนุรักษ์ มุ่งเน้นจุดหมายปลายทางคือความมั่งคงของทรัพยากรท้องถิ่น และให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์สร้างมูลค่าเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของท้องถิ่น หรือการค้นหาของดี พิสูจน์และสร้างความเชื่อมั่นด้วยองค์ความรู้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม นำไปสู่การสร้างโอกาสและขยายผลทางการตลาด สุดท้ายคือการปันรายได้และชุมชนเห็นความสำคัญที่จะต้องรักษาฐานหรือทุนธรรมชาติของท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป เศรษฐกิจของชุมชนเหล่านั้นให้พอดี สามารถสร้างรายได้ และที่สำคัญสามารถสร้างความอยู่ดีมีสุข สร้างรอยยิ้มร่วมกันในชุมชน



คุณอาจสนใจ

Related News