สังคม

อุทาหรณ์! หญิงวัย 48 จัดกระดูกคอ สุดท้ายปวดกว่าเดิม กระดูกคอแตก กระทบเส้นประสาทไขสันหลัง

โดย thichaphat_d

5 ธ.ค. 2565

8K views

หญิงวัย 48 ปี ไปจัดกระดูกคอ แต่ปวดหนักกว่าเดิม มีอาการอ่อนแรงทั่วตัวมีอาการปวดเฉียบพลัน รีบพบแพทย์ทำซีทีสแกนพบกระดูกส่วนคอแตกหัก ส่งผลต่อเส้นประสาทไขสันหลัง


วานนี้ (4 ธ.ค. 65) เพจ PT NOTE - บันทึกกายภาพบำบัด ได้โพสต์เตือน อันตรายร้ายแรง จากการจัดกระดูกคอ


โพสต์เรื่องราวของผู้ป่วยหญิง อายุ 48 ปี  ได้เข้ารับบริการจัดกระดูกคอ แต่ต่อมา มีอาการร่างกายอ่อนแรงทั่วตัวและมีอาการปวดเฉียบพลัน จึงไปหาหมอเอกซเรย์และซีทีสแกน จนพบว่ากระดูกส่วนคอมีการแตกหัก จึงส่งผลต่อกล้ามเนื้อเส้นประสาทไขสันหลัง C5 และ C6 นอกจากนี้ยังพบการอุดตันของหลอดเลือดแดงในกระดูกคอ และ Stroke เฉียบพลัน


ทางเพจ ฯ ระบุว่า เคสของหญิงวัย 48 ปี พบว่า กระดูกคอส่วน C5-C6 หัก (cervical fracture) /มีการบาดเจ็บของเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal cord injury) /ทำให้เกิดการอ่อนแรงแบบอัมพาตทั้งตัว (tetraplegia) /พบการตีบของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองทั้งสองข้าง (cerebellar infarction and bilateral cerebral occlusion) /พบการปลิ้นของหมอนรองกระดูก (disc herniation) /พบการฉีกขาดและเลือดออกของเยื่อหุ้มประสาท (epidural hematoma)


ผู้วิจัยได้อภิปรายว่า ผลการตรวจ CT บริเวณกระดูกสันหลังของผู้ป่วยรายนี้ พบว่ามีภาวะ Ankylosing spondylitis ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระดูกสันหลังแตกหักได้ง่าย และแน่นอนว่าก่อนทำการจัดกระดูกไม่มีการตรวจพบภาวะนี้ของผู้ป่วย


Ankylosing spondylitis คือโรคที่เกิดการอักเสบซ้ำ ๆ ของกระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกราน รวมถึงข้อต่อก้นกบ (sacroiliac joint) หากแต่ในผู้ป่วยโรคนี้ การอักเสบจะไม่ได้มีผลถึงเพียงเส้นเอ็น (ligament or tendon) แต่จะเกิดการอักเสบไปถึงบริเวณที่เป็นจุดเชื่อมของเส้นเอ็นกับกระดูก (entheses)


และเมื่อกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลัง ทำให้มีแคลเซียมสะสมบริเวณเอ็นรอบกระดูกสันหลัง และสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนไปถึงขอบกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก จนทำให้กระดูกสันหลังแต่ละท่อนเชื่อมติดกัน และเสียแนวการวางตัวที่ปกติ (spine alignment) รวมถึงช่วงการเคลื่อนไหวของผิวข้อด้วย (arthrokinematics movement) ดังนั้นจึงทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะมีการแตกหักของกระดูกสันหลังได้ง่าย


หลายครั้งคำถามที่ว่า การจัดกระดูก ควรทำหรือไม่?  เป็นสิ่งที่ตอบได้ยาก เนื่องจากผลการรักษานั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างไรก็ตามรายงานเคสของผู้ป่วยรายนี้ อาจบ่งชี้ถึงผลข้างเคียงรุนแรง ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการจัดกระดูก หากท่านจะเชื่อถืองานวิจัยและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ในหลายไกด์ไลน์ที่แนะนำเรื่องการรักษาแบบอนุรักษ์ (conservative treatment) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อเรื้อรัง


สำหรับการลดอาการปวดที่ดี ทางเพจเฟซบุ๊ก PT NOTE – บันทึกกายภาพบำบัด  บอกว่า  การออกกำลังกายหรือการบริหารต่าง ๆ นั้น ให้ผลลดอาการปวดได้ดีและคงอยู่ยาวนานกว่าหลายการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการจัดกระดูกหรือเครื่องมือทางกายภาพบำบัด  เพราะบางครั้งการรักษาที่ง่ายและปลอดภัยก็เริ่มได้จากตัวเราเอง
---------------
รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/bZ8fx2jzcMA

คุณอาจสนใจ