สังคม

ไทยพิสูจน์ความสามารถด้านโบราณคดี ประจักษ์ระดับโลก ผ่านงานวิจัยถ้ำผีแมนฯ

โดย panwilai_c

26 พ.ย. 2565

672 views

ในเดือนพฤศจิกายน ที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดการประชุมนานาชาติของสมาคมโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ อินโด-แปซิฟิก ครั้งที่ 22 ซึ่งไทยได้เป็นเจ้าภาพครั้งที่สองในรอบ 22 ปี หลังการประชุมเสร็จสิ้น ทำให้ได้ข้อสรุปองค์ความรู้จากนักโบราณคดีทั่วโลก รวมทั้งนักโบราณคดีของไทย ว่า องค์ความรู้ด้านนี้ ของประเทศไทย ได้รับการยอมรับในระดับสากลแล้ว โดยเฉพาะงานศึกษาวิจัยเรื่องวัฒนธรรมโลงไม้ที่แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมนโลงลงรัก รวมทั้งการศึกษาเรื่องมนุษย์หมื่นปีที่ เพิงผาถ้ำลอด จ.แม่ฮ่องสอน



ท่อนไม้ที่วางอยู่ในถ้ำผีแมนโลงลงรัก ที่ อ.เภอปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน แห่งนี้นักโบราณคดีเชื่อว่า อยู่ที่มานานนับ 2,000 ปี แล้ว เพราะท่อนไม้ที่นี้ คือ โลงลงรัก ที่ใช้สำหรับปลงศพ ของคนโบราณ



ถ้ำผีแมนโลงลงรัก มนุษย์โบราณได้ทิ้งร่องรอยหลักฐานวัฒนธรรมไว้ให้ศึกษาจำนวนมากโดยเฉพาะDNA ดีเอ็นเอ มนุษย์โบราณ และการทอผ้าจากเส้นใยกัญชง



หลักฐานที่ค้นพบที่ถ้ำผีแมนโลงลงรักส่วนหนึ่ง ถูกนำมาจัดแสดงไว้ที่พิพิฑธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และการท่องเที่ยว



ศ.ดร.รัศมี  ชูทรงเดช  หน.โครงการสำรวจวัฒนธรรมโลงศพ: นิทรรศการมรดกอาเซียนร่วมของเรา เปิดเผยว่า โบราณวัตถุที่พบโดยเฉพาะผ้าที่ทำจากเส้นใยกัญชง และที่สำคัญเครื่องทอผ้าที่เรียกในพื้นถิ่นว่า กี่ ซึ่งพบเพียงที่นี่เท่านั้น สิ่งที่คนโบราณทิ้งไว้ คนยุคปัจจุบันสามารถพัฒนาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มได้



ผู้ช่วยทูตฝ่ายวัฒนธรรมและการศึกษา สถานทูตเอกอัคราชสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย บอกกับข่าว 3 มิติ ว่า สถานทูตสหรัฐฯ สนใจในการอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้เป็นพิเศษ และนี่เป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา ในการทำความเข้าใจและอนุรักษ์สิ่งที่สำคัญต่อชาวไทย เพื่อการอนุรักษ์ดูแลและส่งต่อให้คนรุ่นต่อไป



ศ.ดร.ชาร์ลส์ ไฮห์แอม นักโบราณคดีที่เข้ามาขุดข้นแหล่งโบราณคดีในไทยหลายแห่งเป็นเวลาหลาย 10 ปี เปิดเผยว่า ที่บ้านโนนวัด จ.นครราชสีมา มีการเลี้ยงไก่มาตั้งแต่เมื่อ 3,600 ปีมาแล้ว เพราะพบหลักฐานไข่ไก่ กับกระดูกไก่ สันนิจฐานว่า เป็นไก่เลี้ยง

ศ.ดร.ชาร์ลส์ บอกว่า แหล่งโบราณคดีในประเทศไทยมีความสำคัญมาก เพราะมีความหลากหลาย ทั้งวิถีชีวิต และวัฒนธรรม และหากประเทศไทยมีศูนย์ตรวจสอบอายุโบราณวัตถุ และการตรวจดีเอ็นเอ โบราณ ถือว่า เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่



ในช่วงเดือนพฤษจิกายนนี้ ถือเป็นโอกาศสำคัญที่นักประวัติศาสตร์และโบราณคดี 850 คนจาก 50 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งชาวไทยที่ได้มีโอกาศมาร่วมแลกเปลี่ยนในการประชุมนานาชาติสมาคมโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ อินโด-แปซิฟิก ครั้งที่ 22 ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพ และยังแสดงให้เห็นว่า การศึกษาด้านโบราณคดีของไทยพัฒนาสู่ระดับโลก

คุณอาจสนใจ