สังคม

ถอดรหัสจากโครงกระดูกมนุษย์ 'ถ้ำผีแมนโลงลงรัก' ค้นหาชาติพันธุ์

โดย panwilai_c

5 มี.ค. 2565

109 views

การค้นพบโลงไม้โบราณและโครงกระดูกมนุาย์ ในถ้ำผีแมนโลงลงรัก อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากเป็นการค้นพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญทางชาติพันธ์ ซึ่งแม้ผลการตรวจดีเอ็นเอ ระบุได้เพียงว่าเป็นกลุ่มประชากรที่ใช้ภาษาออสโตรเอเชียติกที่เหมือนบางชาติพันธุ์ในปัจจุบันแต่ยังไม่พบความเกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์ในอำเภอปางปะผ้า ในปัจจุบัน ซึ่งยังต้องศึกษาให้ชัดเจนขึ้น และเป็นประโยชน์ทางด้านประวัติศาสตร์ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าดินแดนในประเทศไทยมีการอาศัยอยู่ของมนุษย์ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มาตั้งแต่ยุคโบราณ



การค้นพบว่าโครงกระดูกมนุษย์โบราณในถ้ำผีแมนโลงลงรัก ซึ่งยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ภายในโลงไม้โบราณ อายุ 1,600-2,100 ปี ภายในสุสานขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่นักโบราณคดี พบว่า มีการอาศัยอยู่ของคนในพื้นที่บริเวณ ถ้ำผีแมนโลงลงรัก ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน อย่างต่อเนื่อง 454 ปี จากโลงไม้และโครงกระดูมนุษย์รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 254 คน จากคนไม่ต่ำกว่า 12 รุ่น จึงถือเป็นหลักฐานสำคัญทางโบราณคดีชาติพันธุ์ และนำมาซึ่งการขยับเพดานการศึกษาคนบนพื้นที่สูง ที่นำกระดูกไปตรวจดีเอ็นเอค้นพบการอยู่ร่วมกันอย่างหลากหลายชาติพันธุ์ของคนโบราณ และการค้นพบวัตถุโบราณ เช่นเครื่องทอผ้า ใยผ้ากัญชง เครื่องเขินและเครื่องปั้นดินเผา ที่ยังมีใช้อยู่ในบางชาติพันธุ์ในปัจจุบัน



วงสนทนา ถอดรหัส ถ้ำผีแมนโลงลงรัก ว่าด้วยโบราณคดี ดีเอ็นเอ ภาษาศาสตร์และชาติพันธุ์จึงเกิดขึ้นเพื่อบูรณาการองค์ความรู้ทางโบราณคดี กับผลการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ ถอดรหัสพันธุกรรมว่า มนุษย์โบราณในถ้ำผีแมนโลงลงรัก เป็นกลุ่มที่ใช้ภาษาออสโตรเอเชียติก ที่มีภาษาย่อย เป็นมอนิก ปะหล่องงิก เช่น ว้า และปะหล่อง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชาติพันธุ์ใดกันแน่ ต้องศึกษาเปรียบเทียบให้ชัดเจน แต่ผลดีเอ็นเอมนุษย์โบราณยังไม่พบเกี่ยวข้องกับผู้ที่อาศัยอยู่ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน



รศ.วิภู กุตะนันท์ เปิดเผยด้วยว่า แม้ที่ถ้ำผีแมนโลงลงรักยังไม่สามารถชี้ชัดถึงชาติพันธุ์ใดในปัจุบัน แต่ผลตรวจดีเอ็นเอกระดูกมนุษย์โบราณที่ถ้ำย่าปาแหน ะบเป็นกลุ่มประชากรที่ใช้ภาษามอนิก ปะหล่องจิก และ คะเรนนิก ที่เป็นกลุ่มกะเหรี่ยง ละว้าในปัจจุบันที่ใช้ภาษานี้ ซึ่ง นักภาษาศาสตร์ระบุด้วยว่า กลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติก ที่เป็นภาษาปะหล่องงิก ซึ่งอาจเป็นกลุ่ม ลั๊วะ ที่อยู่ในพื้นที่เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอนมานาน แต่เป็นการระบุถึงผู้คนเมื่อกว่า 2,000 ปีก่อนที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้ และอาจมีการโยกย้ายถิ่นฐานกันไปตามยุคสมัย แต่การค้นพบนี้ระบุได้ว่ามนุษย์ในดินแดนหนึ่งมีการอยู่ร่วมกันอย่างหลากหลายชาติพันธุ์มาก่อน



แม้ในทางภาษาศาสตร์จะไม่สามารถระบุชาติพันธุ์ที่แน่ชัดได้ แต่ภาษาคือส่วนคัญที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ต่างๆ การค้นพบในถ้ำผีแมนโลงลงรัก จึงมีนัยยะสำคัญต่อการระบุได้ว่าในช่วงเวลา 1,600-2,000 ปีที่แล้ว ในดินแดนปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีคนอาศัยอยู่ที่นี่อย่างหลากหลายชาติพันธุ์ เช่นเดียวกับในปัจจุบัน ซึ่งนักวิชาการทั้ง 4 สาขาวิชาก็คาดหวังว่าการค้นพบโลงผีแมนลงลงรัก จะนำมาซึ่งการคลี่ปมเงื่อนงำทางประวัติศาตร์ให้เด่นชัดขึ้น

คุณอาจสนใจ