เฝ้าระวังพื้นที่ภาคใต้ 'น้ำท่วม-น้ำป่าไหลหลาก' ชาวบ้านเดือดร้อน หลายร้อยครัวเรือน

สังคม

เฝ้าระวังพื้นที่ภาคใต้ 'น้ำท่วม-น้ำป่าไหลหลาก' ชาวบ้านเดือดร้อน หลายร้อยครัวเรือน

โดย pattraporn_a

3 ธ.ค. 2564

59 views

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้แม้วันนี้ไม่รุนแรงเท่าวันก่อน และบางพื้นที่ฝนลดลง แต่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสุราษฎร์ธานี ยังมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขัง และน้ำป่าไหลหลาก


ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถนนเอเชียที่ไชยาเปิดเส้นทางได้แล้ว ในขณะที่หลายพื) ฝนตกที่ตกหนัก ในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านเขาหลัก ตำบลปากหมาก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่โดยเฉพาะที่อำเภอไชยา โดยทางโครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี ได้เดินเครื่องสูบน้ำ ผลักดันน้ำ พื้นที่อำเภอไชยาเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่ร่วมประชุมหารือกับทุกภาคส่วน เพื่อวางแนวทางช่วยเหลือ และแนวโน้มสถานการณ์ โดยขณะนี้ได้ประกาศเขตภัยพิบัติไปแล้ว 13 อำเภอ


ส่วนที่จังหวัดพัทลุง สถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย แต่ได้ขยายวงกว้างขึ้นรวม 6 อำเภอ 20 ตำบล มีผู้ประสบภัยกว่า 1,000 ครัวเรือน มวลน้ำที่ไหลหลากจากเทือกเขาบรรทัด ลงมายังพื้นที่ของอำเภอกงหรา และอำเภอศรีนครินทร์ ได้หลากลงสู่พื้นที่ด้านล่างของอำเภอเมืองพัทลุง ผ่านลำคลองฝ่ายนาท่อม หลากเข้าพื้นที่ตำบลโคกชะงาย ตำบลเขาเจียก ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมืองพัทลุง ซึ่งเป็นจุดรับน้ำโดยเฉพาะหมู่ที่ 5 บริเวณบ้านหนองปริง ตำบลปรางหมู่ ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเกือบ 30 ครัวเรือน


ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชาวชุมชนบ่อทรัพย์กว่า 150 ครัวเรือน ประสบปัญหาน้ำท่วมสูงกว่า2เมตร ชาวบ้านต้องใช้เรือเข้าออก บางส่วนก็ต้องออกไปอยู่ที่ศูนย์อพยพโรงเรียนวัดเสมาเมือง ในตัวเมืองชั้นในของจังหวัดขณะที่มวลน้ำได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนเป็นวงกว้าง


ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจตามซอยต่างๆบนถนนสายพัฒนาการคูขวางที่เป็นพื้นที่ชั้นในของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช สภาพโดยรวมจังหวัดนครศรีธรรมราชมีฝนตกน้อยลง ระดับน้ำในลำน้ำสายต่าง ๆ มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าหากไม่มีฝนตกเพิ่มสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว


สำหรับภาคใต้แล้วช่วงนี้คือช่วงเสี่ยงต่ออุทกภัยเป็นประจำทุกปี ล่าสุดเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการน้ำมาปรับใช้ บูรณาการร่วมกับเครือข่ายชุมชนทั้งในพื้นที่และนอกเขต จัดการน้ำในลุ่มแม่น้ำตรังร่วมกัน จนบรรเทาเหตุอุทกภัยไปได้มาก และไม่มีการสูญเสียเกิดขึ้นอีกเลย


ซึ่งที่นี่เป็นต้นแบบของการร่วมมือกันจัดการปัญหาน้ำหลากตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำร่วมกันเป็นแห่งเเรกของไทย เพื่อเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ติดตามกับคุณธีรุตม์ นิมโรธรรม

คุณอาจสนใจ

Related News