เปิดปัจจัยเสี่ยงซ้ำรอย "หมิงตี้" พบ กทม.-ปริมณฑล มีโรงงานประเภทเดียวกันเพียบ!

สังคม

เปิดปัจจัยเสี่ยงซ้ำรอย "หมิงตี้" พบ กทม.-ปริมณฑล มีโรงงานประเภทเดียวกันเพียบ!

โดย pattraporn_a

29 ก.ค. 2564

85 views

เหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ เคมีคอล ย่านกิ่งแก้ว เมื่อต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และทรัพย์สินบ้านเรือนเสียหาย อยู่ระหว่างหาสาเหตุที่สรุปอย่างเป็นทางการ พร้อมเกิดคำถามตามว่ายังมีโรงงานลักษณะเดียวกันนี้มากน้อยเพียงใด ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และชุมชนหนาแน่น ล่าสุดมูลนิธิมูลนิธิบูรณะนิเวศน์ เปิดเผยจำนวนและพื้นที่ตั้งของโรงงานลักษณะเดียวกับหมิงตี้ เคมีคอล เพื่อให้ประชาชนจับตา เฝ้าระวังได้


โดยความเสียหายเป็นวงกว้าง จากผลกระทบของเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ เคมีคัล จำกัด ย่านกิ่งแก้ว ทำให้มูลนิธิบูรณะนิเวศ สำรวจข้อมูลโรงงานที่คล้ายกับหมิงตี้ เคมีคอล ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ในประเด็นว่ามีความเสี่ยงจากการที่เก็บสารเคมี สารไวไฟปริมาณมากในโรงงาน และตั้งอยู่ไม่ไกลชุมชน เหมือนหมิงตี้


ซึ่งแยกโรงงาน 3 ประเภท ตามบัญชีกรมโรงงานอุตสาหกรรมคือ โรงงานลำดับที่ 44 ประเภทผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ พลาสติก หรือเส้นใยสังเคราะห์ เหมือนหมิงตี้ และลำดับที่ 53 โรงงานย่อยอื่นๆ ที่ใช้และผลิต และรีไซเคิลพลาสติก เหมือนหมิงตี้ลำดับที่ 53 (5) เป็นกลุ่มโรงงานพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่างๆ และมีการใช้สารอันตรายคล้ายกับบริษัทหมิงตี้ โดยพบว่าโรงงานเหล่านี้หนาแน่นสูงสุดที่สมุทรสาคร ทั้งอำเภอเมืองและกระทุ่มแบน สมุทรสาคร


มูลนิธิฯ ยังสำรวจโรงงาน 3 ประเภทดังกล่าว ที่มีกำลังเครื่องจักรสูงกว่า 10,000 แรงม้า อ้างอิงจากการที่โรงงานของบริษัทหมิงตี้ฯ มีกำลังเครื่องจักร 11,489 แรงม้า ซึ่งมีศักยภาพผลิตสูง จึงเป็นไปได้ที่จะเก็บสารเคมีไว้มาก


ขณะที่หนึ่งประเด็นที่มูลนิธิบูรณะนิเวศ ยืนยันจะผลักดันต่อคือการยื่นเสนอร่างกฎหมาย การรายงานการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารพิษ สู่สิ่งแวดล้อม หรือ PRTR ที่เพ่งถูกปัดตกไปให้กลับสู่การพิจารณาอีกครั้ง เพราะเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการต้องแสดงข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารเคมี สารพิษ


ผู้อำนวยการมูลนิธิ ย้ำว่าข้อมูลเหล่านี้ไม่ใช่การคาดการณ์ว่าโรงงานที่เอ่ยถึงนี้จะเกิดปัญหา แต่ให้เห็นความเสี่ยงที่มีหลายปัจจัยคล้ายกับหมิงตี้ และข้อมูลนี้จำเป็นที่ประชาชนต้องรู้ และรัฐต้องป้องกัน


คุณอาจสนใจ