GISTDA ร่าง พรบ.กิจการอวกาศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยี

เทคโนโลยี

GISTDA ร่าง พรบ.กิจการอวกาศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยี

โดย pattraporn_a

4 ก.ค. 2564

130 views

ปัจจุบันมีวัตถุอวกาศโคจรอย๋่รอบโลกกว่า 5 แสนชิ้น โดยไม่รวมชิ้นส่วนจรวดหรือยานอวกาศที่หลุุดร่วงระหว่างปล่อยข้ึนสู่วงโคจร และชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้มักหล่นลงมาจากฟากฟ้าสร้างความเสียหายให้กับประชาชน ด้วยปัญหาเหล่านี้ทำให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายอวกาศแแห่งชาติขึ้น เพื่อร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ ซึ่งนอกจะคุ้มครองผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวัตถอวกาศแล้ว ยังช่วยสนับสนุนกิจการด้านอวกาศที่อาจสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้กว่า 5 หมื่นล้านบาท


ภาพจุดสีเเดง สีเหลือง จำนวนนับไม่ถ้วนที่ปรากฎนอกชั้นบรรยากาศของโลก คือ ภาพแสดงการจราจรทางอวกาศของวัตถุอวกาศ ทั้งดาวเทียม และ ขยะอวกาศอีกจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งประโยชน์และโทษ ให้กับมนุษย์ที่อยู่บนพื้นโลก เช่นเทคโนโลยีการสำรวจ ภาพถ่ายจากดาวเทียม ตลอดจนการสื่อสาร


ขณะที่โทษของวัตถุอวกาศพวกนี้มักมาในรูปแบบของวัตถุที่ตกลงมาจากฟากฟ้า สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนของประชาชน แม้ตามหลักปฏิบัติแล้ววัตถุอวกาศเหล่านี้จะถูกคำนวณให้มีการตกลงพื้นที่ที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย เช่น ป่าเขา ทะเล ทะเลทราย แต่ก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดตกลงพื้นที่ชุมชนได้ หรอแม้กระทั่งการเฉี่ยวชนกันเองดังกรณีของดาวเทียมไทยโชตกับวัตถุอวกาศที่โคจรเข้ามาใกล้กันในระยะห่างไม่ถึง 100 เมตร


ปัจจุบันธุรกิจอวกาศ หรือ สเปซอีโคโนมี ได้เติบโตมากขึ้น พบว่ามีกิจการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจำนวนมากกว่า 35,600 กิจการ กว่าร้อยละ 95 เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ (SMEs) รวมทั้งมีสตาร์ทอัพ และกิจการต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางต่อเศรษฐกิจและสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้กว่า 56,122 ล้านบาท การเติบโตนี้อาจส่งผลให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียจากเทคโลโลยีอวกาศตามมา เช่น การจ้างงาน โรงงานประกอบและสร้างดาวเทียม และ จำนวนวัตถุอวกาศเช่นดาวเทียมต่างๆ ที่อาจเพิ่มมากขึ้น


คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ จึงได้มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ องค์การมหาชน หรือ GISTDA จัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ เพื่อคุ้มครองทั้งภาคอุตสาหกรรมและประชาชน เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นอนุสัญญาด้านบริหารจัดการอวกาศแบบสากลเพียง 5 ฉบับ


อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติกิจการอวกาศเพิ่งผ่านการเห็นชอบจากสภาพัฒน์ ก่อนนำเสนอให้ครมพิจารณา และ ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาปรับปรุงข้อกฎหมายให้เหมาะสม ก่อนประกาศใช้เร็วๆ นี้ เพื่อกำกับดูแลด้านอุตสาหกรรมอวกาศภายในประเทศ สู่การสร้างกิจการอวกาศสมัยใหม่ หรือ new space economy ในอนาคต 

คุณอาจสนใจ

Related News